![]() | ตอบ: Movement ที่ดีของบางแก้ว ควรเป็นอย่างไร |
รูปนี้เป็นรูปที่ ผู้จูงต้องจูงสุนัขออกจากกรรมการ ท่านว่ากรรมการต้องการดูอะไร พรุ่งนี้กระผม นายเพื่อนบางแก้วจะมาหลาว ต่อครับ ดอนนี้ก็ เที่ยงคืนกว่าแล้วหนาพี่น้อง...เอ้ย..... ![]() ดูรูปที่ 1 จากซ้ายมือ เป็นการเดิน หรือวิ่งอย่างช้าๆๆๆๆ ขาหลังจะอยู่ในแนวขนานกัน มีความห่างของช่องขาอยู่ในระยะที่พอดี ขาทั้งสองข้างไม่บิดเบี้ยว ดูรูปที่ 2 จากซ้ายมือ เป็นการเคลื่อนที่เร็ว หรือเป็นการวิ่ง ขาหลังจะหุบเข้ามา ทำมุมเอียงทั้งสองข้าง เท่าๆกัน ทั้งรูปที่ 1 และ 2 นั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เมื่อเราเห็นจากรูปที่ 1-2 ของทางด้านหน้า และด้านหลัง เราก็จะเข้าใจได้ว่า หากสุนัขตัวไหน? ที่มีการเคลื่อนไหวดังที่อธิบายมา เราก็สัญนิษฐานได้เลยว่า สุนัขตัวนั้น มีโครงสร้างที่ถูกต้อง มีมุมของกระดูกข้อต่อต่างๆดี เพราะการที่สุนัขสามารถเคลื่อนไหวได้ดี ก็จะมาจากการที่สุนัขตัวนั้นมีโครงสร้างที่ดี หมายเหตุ แต่ก็มีสุนัขบางตัว ที่มีลักษณะที่โครงสร้างไม่ดี แต่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ดี เขาเรียกว่า เป็นข้อบกพร่องที่สมดุลย์ เดี่ยวจะเอามาเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ จากรูปที่ 3 ถึงรูปที่ 6 นั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติทั้งสิ้น จะอธิบายตามลำดับเป็นข้อๆไป รูปที่ 3 จากซ้ายมือ เป็นลักษณะที่สุนัขวิ่งตัวเอียง วิ่งเฉียงไปข้างๆ ซึ่งการวิ่งในลักษณะ เช่นนี้ ไปสัมพันธ์กับเรื่องของโครงสร้าง คือการที่สุนัขมีช่วงลำตัวที่สั้นเกินไป แต่มีมุมมขาหลังมากเกิน ทำให้เกิด การวิ่ง ที่ผิดปรกติ ถ้าต้องการที่จะเลือกเล่น สุนัขที่มีช่วงลำตัวสั้นๆ ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของมุมขาหลังด้วยครับ รูปที่ 4 จากซ้ายมือ เป็นลักษณะที่วิ่งขาหลังชิด(หนีบ) มากเกินไป ซึ่งการวิ่งเช่นนี้ ก็ไปสัมพันกับเรื่องของสุนัขที่มี..อกแคบ สุนัขจะมี ความกว้างของบั้นท้าย เล็กกว่าช่วงของอก หรือใกล้เคียงกัน ฉะนั้น หากสุนัขมีอกแคบ บั้นท้ายก็จะแคบ(ลีบ) ตามขนาดของอก ฉะนั้น เมื่อความกว้างของบั้นท้ายมีน้อย ช่องห่างระหว่างขามีน้อย เมื่อสุนัขเริ่มวิ่ง หรือเคลื่อนที่เร็วๆ ขาก็จะหุบเข้าหากัน ทำให้ขาชิดกัน(หนีบ)มากเกินไป ข้อคิด หากจะเลือกสุนัขให้เลือกที่มีบั้นท้ายใหญ่ๆ สักนิด ที่นั้นก็ต้องดูเรื่องของโครงสร้างกระดูก ขาหลังด้วย สุนัขบางตัว บั้นท้ายใหญ่ แต่กระดูกข้อขาล่างชิดกัน นั่นก็เป็นลักษณะที่ไม่ดี รูปที่ 5 จากซ้ายมือเป็นลักษณะที่เรียกว่า เป็นข้อวัว คือ ข้อขาหลังชิดกัน และปลายเท้าเปิดออก อย่างนี้ถือว่าไม่ดีอย่างมาก เพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมด้วย ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่ มีการผิดปรกติของโครงสร้างกระดูกขาหลัง ในกรณีนี้ก็จะคล้ายกัน ในเรื่องที่ผมอธิบายในรูปที่ 4 เรื่องของ บั้นท้ายใหญ่ แต่กระดูกข้อขาล่างชิดกัน คือ ข้อขา..ล่าง..ชิดกัน ตั้งแต่..ข้อ..ลงมาถึงปลายเท้า และปลายเท้าไม่แยกออกจากกัน แต่ ขา..ข้อวัว..นั้นจะชิดกันเฉพาะตรงข้อขาล่าง ปลายเท้าเปิดออกจากกัน รูปที่ 6 จากซ้าย เป็นลักษณะที่เรียกว่า ขาโก่ง ซึ่งเป็นความผิดปรกติ ของโครงสร้างกระดูกขาหลัง อันนี้ง่ายครับ เห็นปุ๊บรู้ปั๊บ อันนี้จะไม่ค่อยได้เห็นบ่อย แต่เข้าใจง่าย ซึ่งถ้าเป็นคน ก็จะพบเห็นในคนแก่ๆ เดินขาโก่งๆ เพราะเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม นั่นแหละครับ จาก http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=2485 |