ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Monday, 7 January 2008, 10:26PM
 

ส่งสัยจัง สุนัขทรงเลี้ยงของพระพี่นาง ชื่อปอเปี้ย เป็น ไซเบี้ยเลียนฮัซกี้ แต่ถ่ายรูปท่านี้เหมือนสุนัขบางแก้วที่บ้านจังเลย

มีใครให้ความรู้เรื่อง ฮัซกี้กับบางแก้วได้หรือไม่ ทำไมหมาไทยจึงมีขนหนาได้อย่างไร อ่านจากประวัติบางแก้วแล้ว ยังไม่ทำให้หายความสงสัยเรื่องขนยาวกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยกับการดำรงชีวิตของสุนัขบางแก้วที่พวกเรารักชอบกันนี้นะคะ


ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 8 January 2008, 05:26AM
 

สวยมากครับ  ตามข่าวบอกว่าชื่อ บ่อเบี้ย เพศผู้ พันธุ์บางแก้ว



พระพี่นางกับสุนัขทรงเลี้ยง
เรื่อง : วราภรณ์ ผูกพันธ์

ทรงฉายพระรูปคู่กับสิบสาม
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นอกจากทรงสนพระทัยในดนตรีคลาสสิก ภาษา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และงานด้านการสาธารณสุขแล้ว พระเมตตาอันงดงามอีกด้านหนึ่ง คือ โปรดการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัขและแมวมาก ทรงเลี้ยงสุนัขตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ อีกทั้งทรงจดบันทึก รายละเอียดของสุนัขประกอบด้วย ชื่อสุนัข วันเกิด และอายุขัยของสุนัขทรงเลี้ยงที่เสียชีวิตไปแล้วอย่างละเอียด โดยทรงพิมพ์ด้วยพระองค์เอง ในอดีตทรงเลี้ยงสุนัขทั้งสิ้น 61 สุนัข ปัจจุบันมี 28 สุนัข ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขพันธุ์ชิห์สุ ที่บุคคลต่างๆ นำมาถวาย จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

28 สุนัขทรงเลี้ยง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แม้ทรงมีสุนัขทรงเลี้ยงในปัจจุบันมากถึง 28 สุนัข แต่ทรงจดจำประวัติของสุนัขได้ทุกตัว รายชื่อของสุนัขที่ทรงเลี้ยงไว้ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

เค็ดซัล เป็นสายเลือดมาจากภูฏาน ตอลเต็ก เพศผู้ เป็นสายเลือดมาจากภูฏาน แข็งแรงและอายุยืนมาก อัลบี้ ลูกของสุนัขพันธุ์ไทย เพศผู้ เกิดที่วังเลอดิส ตูลูส เป็นพี่น้องกับอัลบี้และสีก็คล้ายกันมาก ลียอง สุนัขคอกเดียวกับอัลบี้และตูลูสแต่สีของลียองเป็นสีขาว หัวหิน ได้มาจากหัวหินครั้งเสด็จประพาส หัวหินตามกลับมาวังเลอดิส น้ำพุ (บูบี้) มีขนขาวสลับดำ ได้ชื่อพระราชทานว่าน้ำพุจากการถ่ายเบาตอนเด็กๆ มักขึ้นชี้ฟ้าเป็นน้ำพุเลย คีรีบูน มาจากสเปน เป็นสุนัขปราดเปรียว สง่างาม แพนด้า พันธุ์ชิห์สุ รูปหล่อขนยาว สีขาว หลง ชื่อหลงเพราะหลงเดินอยู่ถนนหลังวังเลอดิส ลักษณะคล้ายพันธุ์เยอรมัน เชพเพิร์ด แต่ขาสั้นกว่า เทนอีเลเวน ได้ฉายา “ราชินีชิห์สุ” ประจำวังเลอดิส แซนดี้เพศผู้พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์

มน พันธุ์ลาบราดอร์ รีทริฟเวอร์ สีเบซ เกาลัด พันธุ์ชิห์สุ เพศผู้ มังกร มาอยู่วังเลอดิสพร้อมเกาลัด เจ้าของฉายา “ตุ้ยนุ้ย” ดาว พันธุ์ชิห์สุ ซิกแซ็ก พันธุ์ชิห์สุ เพศเมีย ต้นคูณ เป็นสุนัขหลง ได้รับพระราชทานนามชื่อว่า “ต้นคูณ” เพราะถูกผูกไว้กับต้นคูณ หลังวังหลัง เจน พันธุ์ชิห์สุเป็นพี่น้องคอกเดียวกับไดมอนด์ ไดมอนด์ มีความพิเศษ คือ สีดวงตาที่สวยมาก ภาพันธุ์ สุนัขพันธุ์บอร์เดอร์ เทอเรีย บ่อเบี้ย เพศผู้ พันธุ์บางแก้ว เชสนัท สุนัขพันธุ์ชิห์สุเพศผู้ เกิดจากแม่ซิกแซ็กและพ่อเกาลัด วอลนัท ลูกคนที่ 2 ที่เกิดจากซิกแซ็กและเกาลัด เฮเซลนัท เป็นลูกสาวเพียงคนเดียวของซิกแซ็กและเกาลัด พีนัท เป็นน้องชายคนเล็ก หน้าเหมือนคุณพ่อเกาลัดอย่างกับแกะ พุธ ลูกของมนกับเนื้ออ่อน และ ไนท์ เป็นสุนัขหลงพบอยู่ที่ถนนหลังวังหน้าตาเข้าข่ายพันธุ์ผสมของแจ็ค รัสเซล วิ่งเร็วโดยเฉพาะเวลากลัว ทุกชื่อของสุนัขทรงเลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงตั้งให้ด้วยพระองค์เองทั้งหมด

ถวายงานด้านการรักษาสุนัขทรงเลี้ยง

หนึ่งในทีมสัตวแพทย์ผู้ถวายงานรักษาและดูแลสุนัขทรงเลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดา บูรณกาล รองคณบดีปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเกี่ยวกับการถวายงานแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ครั้งแรกว่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถวายงานด้านการรักษาสุนัขทรงเลี้ยงตั้งแต่ปี 2530 คุณข้าหลวงนำสุนัขเพศผู้ พันธุ์แม้ว ชื่อ “โท” วัย 5 ปี ซึ่งมีอาการอาเจียน ซึมและขาหลังไม่มีแรง เนื่องจากป่วยเป็นไตวายเฉียบพลัน หลังจากทำการรักษาและออกจากโรงพยาบาลหลังจากทำการรักษา 1 สัปดาห์ สุนัขมีอาการปกติ และหยุดการให้ยารักษาใน 3 สัปดาห์

“ครั้งแรกที่คุณข้าหลวงนำสุนัขมารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทย์ได้ทำการรักษา จากนั้นดิฉันได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต่อด้านโรคไตและความดันโลหิต ที่ยูนิเวิร์สซิตี้ ออฟ เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ตอนกลับมาได้มีโอกาสถ่ายทำรายการ หนึ่งในพระดำริ ก็ขอพระราชทานอนุญาตถ่ายทำสุนัขของพระองค์ ขณะทำงานพระองค์ทรงพระเมตตาลงมาทอดพระเนตรขณะที่ทีมงานถ่ายทำอยู่ ทรงตื่นเต้นว่าสุนัขของพระองค์ได้ออกรายการ เวลาวิ่งเล่นสุนัขทรงเลี้ยงจะหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นมีสุนัขทรงเลี้ยงเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็กอยู่เสมอๆ”

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังทรงสนพระทัยในกิจการรักษาสัตว์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นองค์อุปถัมภ์จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสัตว์อนาถาและจรจัด โดยพระราชทานชื่อกองทุนว่า “กองทุนสิบสาม” โดยได้พระราชทานเงินเริ่มต้นจำนวน 1 ล้านบาท จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ สมทบอีกเป็นระยะๆ อีกทั้งเป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างอาคารฉุกเฉิน สัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลา พระราชทานเครื่องมือแพทย์และเป็นพระอุปถัมภ์จัดหาเครื่องฟอกไตของคลินิกเฉพาะทางโรคไต โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ

ตอนเสด็จไปรับ "ทัลย่า" ที่ตุรกี

‘สิบสาม’ สุนัขทรงเลี้ยงที่โปรดมากที่สุด

เมื่อครั้งอดีตมีสุนัขทรงเลี้ยงที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โปรดมากที่สุด คือ “สิบสาม” สุนัขพันธุ์บอร์เดอร์ เทอร์เรีย เพศเมีย เกิดวันที่ 13 ธ.ค. 2530 ลูกในครอกเดียวกันจึงชื่อธันวาคม สามสิบ และอาทิตย์ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทอดพระเนตรลูกสุนัข และทรงเรียกให้เข้ามาหาก็พบว่า สิบสามที่คลานเข้ามาหาเพียงสุนัขเดียว พระองค์จึงทรงเลี้ยงและทรงผูกพันมาก สิบสามเป็นสุนัขที่มีความจงรักภักดี อยู่ข้างพระบาทตลอดและในวัยสาวจะดุ ไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ ขณะที่พระองค์แปรพระราชฐานไปประทับยังต่างจังหวัด หรือทรงมีพระภารกิจตอนเสด็จไปที่ไกลๆ สิบสามก็มักตามเสด็จไปด้วยเสมอ

“ตอนที่หมอเข้าไปดูแลสิบสามไม่ดุ เพราะเริ่มแก่แล้ว ในขณะที่เขาเจ็บปวดไม่เคยร้อง เป็นสุนัขที่อดทนมาก” คุณหมอชลลดาเล่า และบอกต่ออีกว่า กระนั้นสุนัขทรงเลี้ยงอีก 28 สุนัข สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงรักทุกสุนัข เช่น ขณะที่สุนัขเกิดเจ็บไข้หรือไม่สบาย พระองค์สื่อสารกับคุณข้าหลวงที่พาสุนัขมารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็กฯ ตลอดเวลาว่า การรักษาเป็นอย่างไร และพระองค์ทรงรู้จักสุนัขของพระองค์ดีทุกสุนัข

“ระยะแรกๆ ที่เราให้การรักษา สุนัขทุกตัวมีประวัติ ใครลูกใคร ชื่อมาจากไหน พระองค์ก็จะรับสั่งว่า สุนัขชื่อนี้มีอายุเป็นกี่ปี กี่เดือน กี่วัน เสียอายุเท่าไหร่ เราก็สามารถคำนวณกลับไปด้วยว่าอายุขัยกี่วัน ทรงมีความรอบคอบมาก แล้วเราก็โชคดีได้รับประทานของพระราชทาน เช่น ผลไม้ เข็มพระราชทาน ส.ค.ส. ส่งความสุขพระราชทานตลอดทั้งปี ” คุณหมอชลลดาย้อนรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณด้วยใบหน้าแช่มชื่น

ในวันที่ 13 ธ.ค. ของทุกปี เริ่มปี 2543 สิบสามได้เป็นเจ้าภาพงานวันคล้ายวันเกิดเสมอ และในวัย 15 ปี 22 วัน สิบสามได้จากไป โดยพระกรุณาเสด็จประทับอุ้มสิบสามไว้ตลอดเวลา จนวาระสุดท้าย ด้วยความรักที่พระองค์มีต่อสุนัขทรงเลี้ยง หลังจากที่สิบสามจากไปนั้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงจัดงานวันคล้ายวันเกิด “ระลึกถึงคุณสิบสาม” เป็นประจำทุกปีที่วังเลอดิส และพระราชทานอนุญาตให้บุคลากรในโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกระดับได้รับพระราชทานงานเลี้ยง เนื่องในวันเกิดสุนัขทรงเลี้ยง ยังความปลาบปลื้มให้คณะแพทย์เป็นอย่างมาก จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2548 ก็หยุดจัด

พระเมตตาต่อสุนัขทรงเลี้ยง

คุณหมอชลลดาเล่าว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โปรดสุนัขมาก สามารถกอดและจุมพิตสุนัขทรงเลี้ยงได้ และสุนัขทรงเลี้ยงก็รักพระองค์มากด้วยเช่นกัน “สุนัขอยู่ในตำหนักก็รักกันดี แต่หากพระองค์อุ้มสุนัขตัวไหน ก็เริ่มกัดดึงกันลงมา อยากขึ้นไปนั่งตักพระองค์ท่านแทน บางตัวเดินตามพระองค์ตลอดไม่ยอมเล่นกับใคร ดาวที่รักพระองค์มาก เมื่อครั้งพระองค์มีพระอาการประชวร และหายไป 40 วัน ซึ่งนานเกินกว่าเสด็จประพาสต่างประเทศ ดาวซึม ไม่รับประทาน พานจะแย่ เพราะอาเจียน มาตรวจทางร่างกายก็ปกติ เลยแนะนำคุณข้าหลวงพาไปศิริราช ปรากฏหายในวันเดียว ก็เลยพาไปๆ มาๆ ระหว่างโรงพยาบาลกับวัง” ในทางกลับกัน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ก็ทรงรักสุนัขเปรียบเสมือนเพื่อน พระองค์ดูแลสุขภาพสุนัขทรงเลี้ยงดีที่สุด ไม่สบายพาไปพบแพทย์เป็นประจำ ไม่เคยทิ้งขวาง

ภาพจากหนังสือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับสุนัขทรงเลี้ยงวังเลอดิส จัดพิมพ์โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเทิดพระเกียรติ 84 พรรษา ปีพุทธศักราช 2550

หมายเหตุ ภาพจากหนังสือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับสุนัขทรงเลี้ยงวังเลอดิส จัดพิมพ์โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเทิดพระเกียรติ 84 พรรษา ปีพุทธศักราช 2550

http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=magazine&id=213061


ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 8 January 2008, 05:34AM
 

ไปหาข่าวเพิ่มเติมมาให้อ่านกัน  ขอบคุณน้องฮัชที่มาบอกข่าว  แต่ทำไมข่าวกลายเป็น ฮัซกี้  ชื่อก็เพี้ยน  ช่วยบอกแหล่งข่าวด้วย


จำนวนคนอ่านล่าสุด 3548 คน

วันที่ 04 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6245 ข่าวสดรายวัน


28สุนัขทรงเลี้ยง แห่งวังพระพี่นาง


คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อวงการสัตวแพทย์ของไทย เผยความผูกพันที่ทรงมีต่อสุนัขทรงเลี้ยงที่ทรงโปรดเลี้ยงตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ปัจจุบัน มีสุนัขทรงเลี้ยงที่ยังมีชีวิตกว่า 28 สุนัข นอกจากนี้ พระราชทานเงินช่วยเหลือในการรักษาสัตว์ป่วยอนาถาหรือเจ้าของสัตว์ที่มีรายได้น้อยและสัตว์ที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง




สิบสาม

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงโปรดการเลี้ยงสุนัขตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด ประชาชนชาวไทยมักได้เห็นสุนัขทรงเลี้ยงตามเสด็จไปด้วยบ่อยครั้ง และพระองค์ท่านทรงมีพระกรุณาธิคุณมาถึงวงการสัตวแพทย์ไทยด้วย

สุนัขทรงเลี้ยงตัวแรก ชื่อ "ตาหลำ" เกิดเมื่อปี 2524 มีอายุเกือบ 15 ปีก็ถึงแก่กรรมและยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีกจำนวน 60 ตัว ที่เป็นสุนัขทรงเลี้ยงในอดีต ส่วนปัจจุบันมีสุนัขทรงเลี้ยงที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นจำนวน 28 สุนัข

สำหรับสุนัขทรงเลี้ยงที่พระองค์ท่านทรงโปรดมากที่สุด ชื่อ "สิบสาม" เป็นพันธุ์บอร์เดอร์ เทอร์เรีย เป็นหนึ่งในสี่ตัวที่เกิดในวันที่ 13 ธ.ค. 2530 พี่น้องครอกเดียวกันมีชื่อว่า ธันวา สามสิบ และ อาทิตย์ แต่มี "สิบสาม" ตัวเดียวที่พระองค์ท่านทรงเรียกให้เข้ามาและ "สิบสาม" ก็คลานเข้ามาหา จากนั้นมา พระองค์ท่านทรงผูกพันกับ "สิบสาม" มาก ในขณะเดียวกัน "สิบสาม" จงรักภักดีต่อพระองค์ท่านมากและอยู่กับพระองค์ท่านตลอด ไม่ว่าพระองค์ท่านประทับอยู่ที่ไหน "สิบสาม" ก็ตามพระบาทตลอดเป็นเวลาถึง 15 ปี

วันที่ 13 ธ.ค. 2543 พระองค์ท่านทรงจัดงานวันเกิดให้ "สิบสาม" ที่วังเลอดิส ในงานเลี้ยงมีทั้งซุ้มอาหาร ร้องเพลงและจับสลาก แขกที่ได้รับพระราช ทานพระราชานุญาตให้ร่วมงานมีทั้งสัตวแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและข้าราชบริพาร

ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดา บูรณกาล ผอ.ร.พ.สัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าของขวัญจับสลากเป็นของที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระประสงค์ให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จึงนำมาทำเป็นของขวัญ ส่วนรายได้ที่ได้จากการจับสลากนำเข้าทุนการกุศลสมเด็จย่า ของขวัญพระ ราชทานบางชิ้นมีมูลค่าสูง แต่พระองค์ท่านรับสั่งว่าอย่าคิดอะไรมาก ในปีแรกๆ พระองค์ท่านพระราชทานของขวัญด้วยพระองค์เองทุกคน แต่ปีหลังๆ พระองค์ท่านพระราชทานแต่ของเฉพาะชิ้นที่มีดาวติดเพราะมีของมากชิ้นและผู้ร่วมงานก็วนกันจับสลากคนละ 3-4 รอบและทรงโปรด ให้เปิดดูทุกคนว่าได้อะไรกันบ้าง งานเลี้ยงจึงเต็มไปด้วยความสุขและสนุกสนาน  

ภายในงานยังมีนิทรรศการอธิบายถึงสุนัขทรงเลี้ยงแต่ละตัว ทั้งลำดับการได้มา สายพันธุ์เพ็ดดีกรี นิสัยของแต่ละตัวโดยทรงอธิบายด้วยพระองค์เอง

ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดาเล่าอีกว่าปีแรกที่ไปร่วมงาน พระองค์ท่านทรงโปรดเกล้าฯ ให้อุ้มสุนัขทรงเลี้ยงมาทีละตัวและโชว์ให้แขกดูพร้อมกับทรงอธิบายหมดทุกตัว

ในงานเลี้ยงวันเกิด "สิบสาม" ในปีแรกนั้นเอง พระองค์ท่านพระราชทานเงินจำนวน 1 ล้านบาทจัดตั้งเป็น "เงินทุนสิบสาม" โดยจะนำดอกผลที่เกิดจากกองทุนมาใช้ช่วยเหลือในการรักษาสัตว์ป่วยอนาถาหรือเจ้าของสัตว์ที่มีรายได้น้อยและสัตว์ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต ที่มารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังพระราชทานต่อเนื่องมาทุกปี

เฉพาะปี 2549 ปีเดียว สามารถช่วยเหลือสัตว์ป่วยได้ 74 ราย ที่เป็นโรคต่างๆ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระดูกหัก ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ เบาหวาน การผ่าตัดมักจะเป็นกรณีฉุกเฉิน เช่น ผ่าคลอด มดลูกอักเสบ ไส้เลื่อน ซึ่งส่วนมากการผ่าตัดมักจะได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ส่วนทางอายุรกรรมจะพิจารณาว่าเป็นสุนัขจรจัดหรือเจ้าของไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้เต็มที่และจะดูแลไปจนหาย

"สิบสาม" มีอายุยืนถึง 15 ปีจึงป่วยมาก พระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ "สิบสาม" ไปพักอยู่ที่พระตำหนักศาลากลางน้ำ ซึ่งสัตวแพทย์เปลี่ยนห้องนั้นเป็นห้องไอซียู โดยพระองค์ท่านเสด็จไปเยี่ยมไม่ขาดจนกระทั่งวาระสุดท้ายของ "สิบสาม" ก็สิ้นใจในอ้อมพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน หลังจากนั้น ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์จัดทำรูปปั้นอนุสาวรีย์ "สิบสาม" ไว้ที่ประตูทางเข้าตึกวิลล่าวัฒนา

1.เฮเซลนัท
2.เท็นอีเลเว่น
3.มน
4.ซิกแซ็ก-เกาลัด
5.คีรีบูน
6.แซนดี้
7.น้ำพุ
8.ดาว
9.ตอลเต็ก



เวลาที่พระองค์ท่านเสด็จออกจากวังเลอดิสก็จะเสด็จฯ ไปทรงจับหัวรูปปั้น "สิบสาม" พร้อมทั้งตรัสว่า "ไปแล้วนะ" และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมาก็ไปตรัสกับรูปปั้นอีกว่า "กลับมาแล้วนะ"  ซึ่งทรงปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นเวลานาน มาก

แม้ "สิบสาม" ถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์ท่านก็ไม่ได้ทรงเลิกจัดงานแต่เปลี่ยนเป็นงาน "รำลึกถึงคุณสิบสาม" แทนในปี 2546 ซึ่งสัตวแพทยศาสตร์แต่งกลอนไว้อาลัยถวายซึ่งประพันธ์โดย น.สพ.สุชนิทธิ์ งามกาละ และ นายภูริ วิเศษรจนา นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    "แว่วสำเนียงเสียงให้อาลัยจิต ซึ่งหนึ่งมิตรสนิทใกล้ใจห่วงหา

จึงกล่าวร้อยถ้อยคำพรรณนา ผ่านลมฟ้าพาสื่อใจให้ถึงกัน

สายใยรักสมัครแน่นแม้นวันไหน ห่างแสนไกลไม่ลาลับกลับคงมั่น

เช้าสายเคลื่อนมิเลือนหายสายสัมพันธ์ ร้อยผูกกันสายชีวิตคอยติดตาม

สองมืออุ้มสิบนิ้วแอบเคยแนบชิด สองชีวิตเคยอิงอุ่น "คุณสิบสาม"

ภาพความรักประจักษ์ไว้ในทุกยาม ยังงดงามชัดเจนเช่นทุกวัน

จิตจดจำ "คุณสิบสาม" ด้วยความรัก จิตรสมัครรักอาลัยไม่แปรผัน

จิตคำนึงถึงจิตหนึ่งซึ่งผูกกัน จิตเกี่ยวพันมั่นด้วยรักตระหนักใน

อาจฟังเป็นถ้อยคำหวานกล่าวผ่านซึ้ง แต่ตราตรึงซึ่งสัจจริงยิ่งสิ่งไหน

ลมสะบัดพัดระลอกช่วยบอกไป รักนี้ไซร้ไม่ลืมกันมั่นสัญญา"

นอกจากนี้ ยังมีเพลง "สิบสามรำลึก" ซึ่ง ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดายังแต่งทั้งเนื้อร้องและทำนอง

    "วันพิเศษผองเราเฝ้ารำลึก จิตเฝ้านึกถึงสิบสามนามไพศาล

กอร์ปประโยชน์เอนกอนันต์คุณูปการ ด้วยกล้าหาญ จงรัก ภักดิ์เคียงองค์

คงไม่มีใครจะเปรียบเทียบเท่าแล้ว ดุจดวงแก้วส่องทางสว่างไสว

ชื่อสิบสามยังคงอยู่ในพระทัย ความรักใดไม่อาจเปรียบเทียบที่มี

ตึกฉุกเฉินทรงพลังตั้งตระหง่าน ด้วยปณิธานรักษาสัตว์สมศักดิ์ศรี

ข้าขอน้อมถวายสัตย์เป็นราชพลี ด้วยจงรักภักดีตลอดกาล

ข้าพระบาทขอตั้งจิตคิดแน่วแน่ กุศลแผ่ส่งไปให้สิบสาม

สู่สวรรค์ชั้นฟ้าในพิมาน สุขสำราญสถาพรชั่วนิรันดร์"

ด้วยคุณของ "สิบสาม" ส่งผลให้สุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงอนาถา จรจัดหรือเจ้าของรายได้น้อยพลอยได้รับอานิสงส์ของ "สิบสาม" ไปด้วย เนื่องจากพระองค์ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้าง "อาคารฉุกเฉินสัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลา" หลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดงานนิทรรศการเทิดพระเกียรติ 80 พรรษาที่คณะสัตวแพทยศาสตร์และทอดพระเนตรเป็นห้องฉุกเฉินที่มีขนาดเล็กและคับแคบ แต่มีประชาชนจำนวนมากมารอใช้บริการ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน จึงทรงมีพระดำริในการสร้างอาคารดังกล่าวโดยได้รับความอนุเคราะห์เงินบริจาคจาก คุณเจริญ และ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นจำนวน 13 ล้านบาทตามชื่อ "สิบสาม" เมื่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ พระองค์ท่านทรงพระกรุณาเสด็จเปิดอาคารในวันที่ 13 ธ.ค. 2547

ก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2546 พระองค์ท่านเสด็จมาเปิดหน่วยฟอกเลือดที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้การฟอกเลือดสำหรับการรักษาไตวายเฉียบพลันในสุนัข หลังจากในปี 2530 สุนัขทรงเลี้ยงชื่อ "โท" อายุ 5 ปีป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลันและได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง ศ.น.สพ.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ศ.สพ.ญ.ชลลดา บูรณกาล และ รศ.สพ.ญ.รัตนาภรณ์ พรหมาสา เป็นผู้ได้รับมอบให้ดูแล"โท" เพราะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของไตจึงรักษาด้วยวิธีการล้างไตและเตรียมน้ำยาล้างไตขึ้นมาเองที่ภาควิชาสรีรวิทยาเพราะในตอนนั้นยังไม่มีน้ำยาล้างไตในสุนัขจำหน่าย ในที่สุดโทก็หายเป็นปกติ หลังจากรักษาร่วมเดือน

อีกทั้ง พระราชทานเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับตรวจสุนัขและแมวเครื่องแรกของคลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจ คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2543 และยังคงใช้งานจนถึงทุกวันนี้

นอกจากทรงอุปถัมภ์ทางวิชาการและเครื่องมือสำหรับรักษาสัตว์แล้ว พระ องค์ท่านยังทรงมีพระเมตตาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ 4 คน ตามเสด็จไปออกหน่วยเคลื่อนที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เมื่อปี 2545 โดยทรงพระกรุณาให้กลุ่มสัตวแพทย์พักที่เรือนรับรองของพระตำหนักจังหวัดน่านโดยมีหน้าที่ในการดูแลสุนัขทรงเลี้ยงที่ทรงนำไปจำนวน 6 ตัว และดูแลการเลี้ยงสัตว์และปัญหาโรคสัตว์ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พะเยาและพิษณุโลก

ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดากล่าวว่าเคยไปถวายงาน พอ.สว. ที่จังหวัดน่านและไปจับผ้าฝ้ายที่เกษตรกรเป็นคนทอเองจึงคิดในใจว่าจะซื้อถวายท่าน โดยจับผ้าชิ้นนั้น 2 ครั้ง ครั้งสุดท้าย พระองค์ท่านเสด็จผ่านมาพอดี จึงทูลถามว่า ทรงโปรดไหม พระองค์ท่านตรัสกับอบต.ว่าจะเอาผ้าชิ้นนี้ เมื่อกลับโรงแรมแล้ว พระองค์ท่านรับสั่งตนเข้าเฝ้าและรับสั่งถามว่า "ชอบใช่ไหม" และพระราชทานผ้าผืนดังกล่าวให้ยังความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้ อีกทั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการตามเสด็จไปสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เมืองกุ้ยหลิน ปี 2546 อีกด้วย

พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีมากมายมหาศาลอย่างหาที่สุดมิได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสัตวแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2546 ที่วังเลอดิส

ผอ.โรงพยาบาลสัตว์เล็กกล่าวว่าคณะสัตวแพทยศาสตร์เคารพและเทิดทูนพระองค์ท่านทุกคน  ในยามที่พระองค์ท่านทรงประชวร คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปกราบพระบาทที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำ

ปี 2550 เป็นวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา คณะสัตวแพทยศาสตร์จึงจัดโครงการจัดงานเฉลิม พระเกียรติ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบด้วยโครงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจฟรี โครงการตรวจตาฟรีและจัดทำหนังสือ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์กับสุนัขทรงเลี้ยงวังเลอดิส" ราคาเล่มละ 350 บาท รายได้จากการจัดจำหน่ายทูลเกล้าฯถวายโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ

ในเล่มมีภาพและนิสัยสุนัขทรงเลี้ยงในวังเลอดิสหลากหลายพันธุ์ ชื่อน่ารักๆ และมีความหมาย บางชื่อบอกถึงที่มาของสุนัขตัวนั้นๆ เช่น สุนัขไทย หลงมาผูกไว้ที่ต้นคูนหลังวังก็ได้พระราชทานชื่อว่า "ต้นคูน" และทรงได้ "บ่อเบี้ย" สุนัขพันธุ์บางแก้วมาหลังจากเสด็จพระราชดำเนินไป ต.บ่อเบี้ย จ.พะเยา

ปัจจุบันมีสุนัขทรงเลี้ยง 28 ตัว มีบางกลุ่มที่อยู่กับบางกลุ่มไม่ได้และแม้เป็นชิสุเพศผู้เหมือนกันก็ไม่ถูกกัน เวลาสัตว์ทรงเลี้ยงป่วยก็จะมีข้าราชบริพารนำมาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ซึ่งพระองค์ท่านจะทรงรับสั่งถามถึงทุกตัวที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาล ทุกๆวันจะมีสัตว์ทรงเลี้ยงป่วยมาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก บางวันมาถึง 2 รอบ โดยมีรถประจำที่วิ่งมาที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ ถ้าวันไหนไม่มา คณะสัตวแพทยศาสตร์จะรู้สึกขาดอะไรไปสักอย่าง และคณะสัตวแพทยศาสตร์จะไปตรวจสุขภาพสัตว์ทรงเลี้ยงที่วังเลอดิสเป็นประจำทุกปี

ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดากล่าวว่า พระองค์ท่านทรงโปรดสุนัขทรงเลี้ยงทุกตัว หลายตัวได้มาจากการเดินทางไปต่างประเทศ ภายหลังมีผู้ถวายสุนัขพันธุ์ชิสุแด่พระองค์ท่านเพราะเห็นว่าพระองค์ท่านรักชิสุ ชิสุจึงงอกเงยเป็นจำนวนมากและเริ่มเป็นกลุ่มชิสุ ซึ่งมีบางตัวที่หวงพระองค์ท่านมาก ไม่ค่อยยอมให้ตัวอื่นเข้าใกล้ หนึ่งในนั้น คือ "เท็นอีเลเว่น" ซึ่งชอบพูดอ้อแอ้ๆ กับพระองค์ท่านและชอบฟ้องเวลาสัตวแพทย์ทำเจ็บ เวลาที่เท็นอีเลเว่นหยุดพูดคือป่วยเท่านั้น  

นอกจากนี้ ยังมีพิธีแต่งงานระหว่างสุนัขทรงเลี้ยงในวังพันธุ์ชิสุชื่อ "ซิกแซ็ก" กับ "เกาลัด" พระองค์ท่านพระราชทานชื่อลูกเป็น นัท ทั้งหมด ได้แก่ "เชส นัท วอลนัท เฮเซลนัทและพีนัท" โดยสุนัขทรงเลี้ยงที่ได้ไปศิริราชวันเว้นวันในช่วงที่พระองค์ท่านประชวร คือ "เฮเซลนัท" เพราะเป็นสุนัขขี้ประจบมาก

อีกตัวที่ได้ไปเข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านวันเว้นวัน คือ "ดาว" พันธุ์ชิสุเช่นกันเพราะเมื่อพระองค์ท่านประทับที่ศิริราชนานเข้าๆ "ดาว" ก็ซึมลงๆ ผลสุดท้ายดาวไม่กินและอาเจียน พอมาหาสัตวแพทย์ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นเพราะดาวคิดถึงพระ องค์ท่าน เมื่อดาวได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านที่ศิริราชก็กระโดดเข้ากอดพระองค์ท่านและหายจากอาการนั้นทันที

ในหนังสือเล่าถึง "ดาว" ว่าเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มชิสุในวังเลอดิสตั้งแต่ปี 2545 ตอนมาใหม่ๆ ดาวจะขี้กลัว โดยเฉพาะสุนัขรุ่นคุณย่า คุณยาย เหตุที่ได้พระราชทานชื่อว่า "ดาว" เพราะตอนเด็กๆ มีขนบนศีรษะสีดำตรงกลางกระหม่อมเป็นรูปดาว เมื่อเด็กๆ คุณดาวซนมาก เคยไป จ.น่านและโดนมดคันไฟรุมทึ้ง ดาวจะติดพระองค์ท่านมาก จะคอยมองสอดส่ายว่าพระองค์ท่านอยู่ที่ใดและมักจะเดินตาม ครั้งหนึ่งเคยถูกขังอยู่ในลิฟต์เพราะออกไปไม่ทัน

"ดาว" เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยเล่นกับคนแปลกหน้า เมื่อสมัย "ซิกแซ็ก" มาใหม่ๆ ดาวยอมให้ซิกแซ็กดูดนมทั้งๆ ที่ดาวก็ยังเป็นสุนัขเล็กจึงเปรียบเสมือนแม่นมของซิกแซ็ก แต่ปัจจุบัน ดาวไม่ถูกกับซิกแซ็กเท่าไหร่ เพราะค่อนข้างอิจฉาซึ่งกันและกัน ถ้าอยู่ใกล้กันจะไล่กัดกันด้วยความอิจฉา

พูดถึงคู่ปรับของดาวแล้วก็ต้องเอ่ยถึงซิกแซ็กด้วย ซิกแซ็กเป็นชิสุเพศเมียที่มีขนาดเล็กมาก ตอนที่ได้มามีขนาดเท่าหนูแรทและลำตัวเป็นสีชมพูแดง ด้วยความที่ตัวเล็กจึงนำมาโรงพยาบาลได้ง่าย ปัจจุบันซิกแซ็กครองแชมป์ชิสุตัวเล็กที่สุดในวังเลอดิส

ยังมี "น้ำพุ" ซึ่งได้พระราชทานชื่อที่สื่อถึงความน่ารักน่าชังในตอนเด็กๆ เพราะตอนถ่ายเบาเมื่อครั้งยังเป็นเด็กมักพุ่งขึ้นชี้ฟ้าเป็นแบบน้ำพุเลย ปัจจุบันน้ำพุอายุมากแล้วและมีปัญหาเรื่องตาทั้งสองข้างจึงมองไม่เห็น แต่น้ำพุก็เดินในวังได้โดยไม่ชนกับข้าวของ เนื่องจากชินแล้ว

สุนัขทรงเลี้ยงพันธุ์อื่นๆ เช่น โกลเด้น รีทริฟเวอร์ก็มี เช่น "แซนดี้" ที่หล่อมากและได้รับการฝึกเป็นอย่างดี จึงสามารถทำตามคำสั่งได้ โดยเฉพาะสามารถคาบตะกร้าไปส่งให้ใครต่อ ใครได้ (แต่บางทีก็ไม่ให้) เป็นสุนัขที่ขี้เล่นที่จะเห่าทุกคน โดยเฉพาะสัตว แพทย์ที่เข้าไปในศาลาทรงงาน

ส่วน "มน" เป็นสุนัขพันธุ์ลาบรา ดอร์ รีทริฟเวอร์ ซึ่งมีความสง่างาม เข้ามาเป็นสมาชิกวังเลอดิสเมื่ออายุได้ประมาณ 2 เดือน "มน"ถูกฝึกให้นั่ง นอนและทำตามคำสั่งได้ แต่เนื่องจากเป็นสุนัขขี้เล่นและเข้าข่ายไม่อยู่สุข บางครั้งก็ไม่สนใจทำตามคำสั่ง

สำหรับสุนัขทรงเลี้ยงที่มาจากต่างประเทศ เช่น "คีรีบูน" มาจากประเทศสเปน เป็นสุนัขที่ปราดเปรียว สง่างาม ถ้าดูจากทางด้านหน้าจะเห็นว่าเป็นสุนัขที่ผอมมากซึ่งเป็นมาตรฐานของสุนัขพันธุ์นี้ "คีรีบูน" ค่อนข้างขี้กลัว แต่ก็เป็นสุนัขที่ใจดีมาก ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วยและเลี้ยงง่าย

"ตอลเต็ก" และ "เค็ดซัล" มีสายเลือดมาจากประเทศภูฏานทั้งคู่ "เค็ดซัล" มีปัญหาเรื่องการเดินที่มักจะเดินเอียงไปด้านหนึ่งและตาเหล่ด้วย แต่ก็สามารถวิ่งในสนามได้

เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ


http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakEwTURFMU1RPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd09DMHdNUzB3T
ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Tuesday, 8 January 2008, 09:31AM
 

พอเห็นป๋อเปี๊ยเราก็เชื่อว่าต้องเป็นบางแก้ว ที่เขียน ฮัซกี้นะคะ เป็นชื่อพันธ์คือลืมใส่ชื่อสุนัขทรงเลี้ยงในภาพไปคะ

แต่ข้อมูลที่ได้มาจากมติชนวันที่ 3 มค ในweb มติชน ก็เลยไม่แน่ใจว่าป่อเปี้ยเป็นอะไรกันแน่   ตามนี้คะ

อ่าน 1588 คน วันที่ 03 มกราคม 2551 เวลา 17:21:38 น.


-  ขนาดข้อความ  

 
 
'วันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา ณ วังเลอดิส ถนนสุขุมวิท ซอย 43 เจ้าสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว เต่า จะรู้หรือไม่ว่า เจ้านายอันเป็นที่รักของพวกเค้าได้สิ้นพระชนม์ลงแล้วอย่างสงบ...... '

หว้าเหว่เมื่อคนที่รักจากไป...

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงโปรดการเลี้ยงสุนัข แมว และเต่าเป็นอย่างมาก สัตว์เลี้ยงของพระองค์ต่างอาศัยอยู่ภายใต้ความรักความเมตตาของพระองค์ ณ วังเลอดิส

โดยเฉพาะเจ้าสุนัขสายพันธุ์ต่างๆ ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้สื่อหลายแขนง เผยแพร่เพื่อเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปนั้น ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สุนัขทรงเลี้ยงทั้งหมด มีความน่ารัก น่าเอ็นดูเป็นอย่างมาก

ไล่กันมาตั้งแต่สองผู้เฒ่าประจำวังเลอดิส   เค็ดซัล , ตอลเต็ก

สามพี่น้อง ตูลูส , อัลบี้, ลียอง,คีรีบูน,หลง,ภาพัน,ต้นคูน

ตระกูลชิทสุ ได้แก่ เจน,ไดมอนด์,มังกร,เท็น/อีเลเว้น,ดาว,แพนด้า

คู่สามี-ภรรยา  คือ ซิกแซ็ก , เกาลัด กับลูกทั้งสี่ ได้แก่ เฮเซลนัท , เซสท์นัท , พีนัท ,วอลนัท

นอกจากนั้นยังมี แซนดี้,มน,วันพุธ,บ่อเบี้ย,ไนท์ และ หัวหิน

สำหรับสองผู้เฒ่าประจำวังเลอดิส คือ เค็ดซัล กับ ตอลเต็ก เกิดวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ทั้งสองเป็นลูกของ "พาโร" และ "ทิมพู" สุนับพันธุ์แอปโซ พาโรนั้นเจ้าหญิงเพมเพมแห่งภูฏานและดาโชบารุน พระสวามีได้ถวายเป็นที่ระลึกแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เมื่อคราวเสด็จเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ปี 2531

สามพี่น้อง ตูลูส  อัลบี้ ลียอง เกิดวันเดียวกันเมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 2537  ทั้งสามเป็นลูกของ "เกร" สุนัขพันธุ์ไทยและ "จุด" สุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน แต่ความจริงแล้วครอบครัวนี้มีกัน 4 พี่น้อง อีกตัวหนึ่งคือ "หนูเล็ก" ได้พระราชทานผู้อื่นไป

คีรีบูน เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2539 หลง เกิด 5 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นสุนัขหลงเหมือนชื่อ เพราะหลงอยู่ในซอยหน้าวัง

ภาพัน เกิดวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 ต้นคูน เกิดเดือนกันยายน 2546 สำหรับต้นคูนนี้ไม่ทราบวันเกิดที่แน่นอน เพราะทรงพบ "ต้นคูน" ผูกติดไว้กับต้นคูนหน้าวังเลอดิส จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ

ตระกูลชิทสุนั้น เจน กับ ไดมอนด์ เกิดวันที่ 29 สิงหาคม 2546

มังกร เกิด 6 มกราคม 2544 ส่วนเจ้าชิทสุ เท็นอีเลเว่น เกิด 10 พฤศจิกายน 2542 ที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะเกิดวันที่ 10 เดือน 11 นั่นเอง

ดาว เป็นสาวสวยเกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 ขณะที่ แพนด้า เป็นรุ่นพี่ เกิด 13 พฤศจิกายน 2540

คู่หูตุนาหงัน ซิกแซ็ก-เกาลัด ที่เป็นดาวเด่นของวังนั้น ซิกแซ็ก เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 2545 ส่วนเกาลัด เกิด 30 มิถุนายน 2544

รุ่นลูกของกาลัดกับซิกแซ็ก มีชื่อในตระกูลถั่ว ประกอบด้วย เฮเซลนัท เชสท์นัท พีนัท และ วอลนัท เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547  

หนุ่มหล่อ แซนดี้ เกิดวันที่ 15 มีนาคม 2543 ส่วนคู่แม่ลูก มน กับ วันพุธ นั้น มนเกิด 10 มีนาคม 2544 ส่วน "วันพุธ" เกิด 8 มิถุนายน 2548

บ่อเบี้ย เป็นสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้ เกิดวันที่ 12 ตุลาคม 2547 ไนท์ เกิดในวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ 2549 ถือเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดของวัง

และสุดท้าย หัวหิน เกิด 15 กันยายน 2537 เป็นสุนัขที่มาจากหัวหินเหมือนชื่อ ทำหน้าที่เฝ้าอยู่หน้าวังเลอดิส และยังคงเฝ้าอยู่...ตลอดไป

แต่ ณ เวลานี้เจ้าสุนัขเหล่านี้กำพร้าเสียแล้ว พวกเขาคงเหงา เพราะการจากไปของพระพี่นางฯทำให้ ไม่มีโอกาสได้เจอพระองค์อีกแล้ว แต่ด้วยความน่ารักที่ถูกขัดเกลาอย่างดีในแบบฉบับ "สุนัขเลอดิส" คงไม่ยากที่สุนัขทรงเลี้ยงเหล่านี้จะสามารถมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ณ วังเลอดิสตลอดไป

ขอบคุณภาพประกอบจากนิตยสาร พลอยแกมเพชร

******

คณะสัตวแพทย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือกลุ่มแพทย์ที่ถวายการรักษาอาการป่วยของบรรดาสุนัขทรงเลี้ยงของพระพี่นางฯ

ช่วงเวลาที่พระพี่นางทรงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.นสพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้นำคณะสัตวแพทย์ที่เคยถวายการรับใช้ในงานดูแลสุนัขทรงเลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จำนวน 9 คน อาทิ รศ.น.สพ.สงคราม เหลืองทองคำ นายกสัตวแพทยสภา,สพญ.ดร.ชลลดา บูรณกาล ผอ.รพ.สัตว์เล็ก เดินทางมาลงนามถวายพระพร

ศ.นสพ.ดร.อรรณพเปิดเผยว่า รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ให้คณะสัตวแพทย์ฯ เข้าไปดูแลสุนัขทรงเลี้ยง ในวังเลอดิส ซึ่งทรงมีสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อว่า “คุณสิบสาม” สุนัขพันธุ์บอร์เดอเทอร์เรีย และเมื่อคุณสิบสามตายลงตอนอายุ 15 ปี สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ นำมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อสัตว์เจ็บป่วยยากไร้ ชื่อ กองทุน "คุณสิบสาม" เพื่อช่วยเหลือสัตว์ยากไร้โดยเฉพาะสุนัขและแมว

สพญ.ดร.ชลลดา สัตวแพทย์อีกคนหนึ่งที่มีโอกาสดูแลสุนัขทรงเลี้ยง กล่าวว่า รู้สึกประทับใจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เมื่อครั้งมีโอกาสถวายการรับใช้พระองค์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว พระองค์ทรงเลี้ยงสุนัขและแมวจำนวนมาก และทุกปีจะโปรดเกล้าฯ ให้คณะสัตวแพทยจุฬาฯ 50 - 60 คน เข้าเฝ้าฯ ประมาณวันที่ 13 ธันวาคมของทุกปี และจัดงานเลี้ยงให้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงมีพระเมตตาต่อสุนัขและแมวจรจัดมาก โดยทรงพระราชทานตึกฉุกเฉินและทรงเสด็จฯ เปิดตึกด้วยพระองค์เอง โดยตึกที่ว่านี้เปิดทำการ 24 ชม. นอกจากนี้ยังได้พระราชทานเครื่องฟอกเลือด ฟอกไต เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สำหรับสัตว์ ที่สำคัญคือดอกผลที่ได้จากกองทุน "สิบสาม" ได้ช่วยเหลือสุนัขและแมวจำนวนมาก ปีที่แล้วได้ช่วยแมวและสุนัขไปกว่า 79 ตัว

"พระองค์ท่านทรงรักคุณสิบสามมาก ตอนคุณสิบสามตายก็ตายในอ้อมพระกรพระองค์ท่าน ทางคณะสัตวแพทยฯ ได้สร้างอนุสาวรีย์คุณสิบสามถวายพระองค์ในวันเลอดิส ดังนั้นทุกวันที่ 13 ธันวาคม จะมีการจัดงานรำลึกถึงคุณสิบสาม"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=15564&catid=

ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 8 January 2008, 10:27AM
 

ขอบคุณที่ให้แหล่งข่าวครับ  จะได้ไปตามแก้    เพราะมีหลายที่อ้างตามมติชนเยอะ  เช่น เนชั่น

http://www.oknation.net/blog/supermodels/2008/01/04/entry-2


บ่อเบี้ย

บ่อเบี้ย

บ่อเบี้ย เป็นสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้ เกิดวันที่ 12 ตุลาคม 2547
ข้อมูลจาก
 
ขอบคุณภาพประกอบจากนิตยสาร พลอยแกมเพชร




ความคิดเห็นที่ 14
Dotcom วันที่ : 08/01/2008 เวลา : 10.02 น.
http://www.bangkaew.com


ตามข่าวที่ถูกต้อง บอกว่าสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อ บ่อเบี้ย เป็น พันธุ์บางแก้ว ช่วยแก้ด้วยครับ
ดูรายละเอียดที่ http://www.bangkaew.com/elearning2/mod/forum/discuss.php?d=3257

ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 8 January 2008, 12:21PM
 
ความคิดเห็นที่ 18  
ทรงได้ "บ่อเบี้ย" สุนัขพันธุ์บางแก้วมาหลังจากเสด็จพระราชดำเนินไป ต.บ่อเบี้ย จ.พะเยา 

http://www.bangkaew.com/elearning2/mod/forum/discuss.php?d=3257

สุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อ บ่อเบี้ย เป็น พันธุ์บางแก้ว ไม่ใช่  ไซบีเรียนฮัสกี้

Name : pongping < My.iD > [ IP : 124.120.21.150 ]
Email / Msn: 
วันที่: 8 มกราคม 2551 / 12:17
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1009060&pageno=1
ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 8 January 2008, 12:27PM
 
    ความคิดเห็นที่ 11

    ตามข่าวที่ถูกต้อง บอกว่าสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อ บ่อเบี้ย เป็น พันธุ์บางแก้ว ช่วยแก้ด้วยครับ ไม่ใช่ เป็นสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้

    ดูรายละเอียดที่ http://www.bangkaew.com/elearning2/mod/forum/discuss.php?d=3257

     
     



    จากคุณ : vichien_b - [ 8 ม.ค. 51 11:08:29 ]
 
 
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J6202299/J6202299.html
ตอบ: ทำไมเหมือนกันอย่างนี้
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Tuesday, 8 January 2008, 03:52PM
 

เท่  โอ๊ะ ขอโทษคะ ตาไม่ดีอ่านชื่อผิดไป เป็น ป่อเปี้ย ที่ไหนได้ ชื่อของสุนัขทรงเลี้ยง ชื่อ บ่อเบี้ย ขอบคุณคุณปิงปองมากๆ คะ และช่วยแก้ข่าวไปหลายที่ด้วยคะ แลบลิ้น


Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew