ผลการค้นหา: 91

หน้า:  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  (ต่อไป)
โดย ไตรสิทธิ์ . - Sunday, 4 March 2007, 06:43PM
 

รายงานผลปฏิบัติการขั้นสุดท้าย   ล้มเหลวครับ  Mission failed.

ให้ลูกชายจูงโบไว้  แล้วจูงปิงปองเข้าไป    ยังไม่ทันได้ออกเดินเลย    ก็จะฟัดกันแล้ว

ปิงปองทั้งขู่  ทั้งกระชากสายจูง   กดก้นก็แล้ว  ตีด้วยกระบองหนังสือพิมพ์ก็แล้ว    เหมือนเลือดเข้าตา  ไม่ยอมฟัง   จะเข้าไปลุยให้ได้    ส่วนโบก็ไม่ยอมอยู่เฉย   จะวิ่งมาฉะเหมือนกัน     เลยต้องจูงเข้าบ้าน   แยกย้ายกันไป    ให้พวกมันได้สงบสติอารมณ์สักพัก   ก็เข้ากันได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

คงต้องเลิกล้มความตั้งใจที่จะให้มันออกไปเดินเที่ยวนอกบ้านพร้อมกัน

ความจริงก่อนปฏิบัติการขั้นสุดท้าย  ก็ให้โบกับปิงปองไปอยู่ในสวนร้างพร้อมกันเพื่อให้ปลดปล่อยพลังงานออกไป  โดยให้ปิงปองอยู่ในสายจูง   โบทำท่าแหยงๆอยู่  ปิงปองจะเข้าไปขู่    แต่ก็ยอมอยู่ในโอวาท  ไม่กล้าใช้กำลังกับโบ    แต่พออยู่บนถนนนอกบ้านพร้อมกัน   กลับไม่ยอมเชื่อฟังเลย

คงต้องเปลี่ยนยุทธวิธี     ใครมีไอเดียดีๆ  ช่วยชี้แนะด้วยครับ

http://www.pantown.com/data/144/board1/39-20031117195514.jpg

http://www.pantown.com/board.php?id=144&area=1&name=board1&topic=39&action=view


โดย ไตรสิทธิ์ . - Sunday, 25 February 2007, 10:43AM
 

คุณเกาเหลา คงพิมพ์เร็วไปหน่อย  ที่ถูกน่าจะเป็น หมาบางแก้วจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

คุณเกาเหลา เป็นผู้ที่เข้าใจพฤติกรรมสุนัขตัวยงคนหนึ่ง  หวังว่าคงจะได้รับคำชี้แนะจากท่านด้วย

DVD คงไม่สามารถทำขายได้    ถ้าอยากเอาไว้ศึกษา   ขอให้ลองติดต่อคุณจรัญ แล้วร่วมบริจาคเงินเข้ากองทุนชมรมคนรักบางแก้วตามแต่กำลัง


เช้านี้  ทำการดัดนิสัยปิงปองไม่ให้ก้าวร้าวเหมือนเมื่อวาน

โดยผูกโบไว้ที่รั้วหน้าสวนร้างข้างกายปิงปอง   ปล่อยให้มันปรับสภาพจิตใจกันตามลำพังสักพักใหญ่

จากนั้นจึงไปจูงปิงปองออกมาจากสวนร้าง   มันยังออกอาการข่มขู่เจ้าโบเหมือนเดิม   ห้ามก็ไม่ฟัง   เลยต้องล้มมันกดพื้นให้นิ่งและสงบต่อหน้าโบ



โดย Bo (oYo) - Saturday, 24 February 2007, 09:46AM
 

เช้านี้  เสียคะแนนให้ปิงปองไป 1 แต้ม

จูงเจ้าโบเข้าไปในสวนร้างที่ปล่อยปิงปองกับด็อตคอมไว้เหมือนเมื่อวาน

ยังไม่ทานที่จะปลดสายจูงโบ   ปิงปองก็วิ่งชาร์จเข้ามา   ห้ามก็ไม่อยู่    กัดกันอีลุงตุงนัง   ด็อตคอมก็วิ่งมาผสมโรงกัดทั้งโบและปิงปอง  ไม่รู้พวกใคร

กว่าจะลากโบออกมาให้พ้นประตูได้    ก็โดนปิงปองกัดขาไป 1 ที  ได้มา 2 รู  แต่ไม่ลึกนัก

เกรงว่า  ถ้าจบแบบนี้  เดี๋ยวปิงปองจะได้ใจ

ก็เลยเอาด็อตคอมตัวยุ่งไปเก็บในกรงก่อน    แล้วจูงโบมาผูกไว้กับประตูรั้วข้างนอกสวนร้างให้แน่นหนา    จากนั้นเอาสายจูงอีกเส้นไปพาปิงปองออกมาจากสวนร้าง    ทั้ง 2ประจันหน้ากัน   ก็จะวิ่งเข้าใส่กัน    แต่ครั้งนี้  คุมปิงปองอยู่ด้วยสายจูง    พยายามฉกกัดปรามมันหลายที  ก็ไม่ฟัง    เลยต้องใช้วิธีฉกกัดคอกดลงพื้น   ปิงปองฝืนตัว  ไม่ยอมล้มง่ายๆ    เลยต้องรวบขาหน้าด้วยมืออีกข้าง  ให้มันทรงตัวไม่อยู่   แล้วกดคอและหน้าอกมันจนนิ่งและสงบขึ้น     ตอนนั้น เจ้าโบก็เริ่มสงบลง  

จากนั้นจูงปิงปองเดินผ่านหน้าโบอีกรอบ   มันก็ยังออกอาการขู่   ห้ามก็ไม่ฟัง   เลยต้องล้มมันต่อหน้าโบเป็นครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3   ปิงปองยอมเดินผ่านหน้าโบกลับเข้าบ้านแต่โดยดี   โดยทั้ง 2 ไม่ออกอาการแต่อย่างไร

ก็เลยให้รางวัลโบด้วยการให้มันไปวิ่งเล่นครองสวนร้างเหมือนเมื่อก่อน

ดูมันจะดีใจมาก  ลืมความบาดเจ็บที่ถูกปิงปองกัดเมื่อเช้า

http://www.pantown.com/data/144/content6/f1.gif

รูปเก่าจาก http://www.pantown.com/content.php?id=144&name=content6&area=1


โดย Pingpong \(-_-)/ - Friday, 23 February 2007, 08:57PM
 

จะรอแม่มะกูดมารายงานผลครับ

วันนี้  ดีใจจัง  สะสมชัยชนะไปได้อีก 2 แต้ม

เริ่มจาก พาปิงปองและด็อตคอมไปทิ้งไว้ในสวนร้าง  แล้วจูงโบออกมาผูกไว้ที่ประตูรั้ว

ปิงปองจะเห่าไล่อย่างไม่พอใจ(คงคิดว่า เป็นอาณาเขตของตู  อย่าแหยมนะ)

โบคงรำคาญ  ก็เห่าโต้ตอบไปบ้าง  แต่มันคงอยากรีบๆฉากไปเดินเล่นในหมู่บ้านเหมือนวันก่อนๆมากกว่า

แต่วันนี้   พ่อโบตัดสินใจแล้วว่า  จะต้องยึดพื้นที่คืนจากปิงปองให้ได้  เพื่อให้โบเข้าไปวิ่งเล่นในสวนร้างได้ด้วย

หลังจากที่ปล่อยให้มันทำสงครามน้ำลายผ่านรั้วกั้น  สักระยะหนึ่ง   พอให้มันได้ปลดปล่อยพลังงาน   ก็จัดการปรามโบให้เงียบด้วยเสียงและกิริยา   โบยอมเชื่อฟังโดยดี

แต่ปิงปองยังเห่าต่อ  ก็จัดการปรามปิงปองให้เงียบด้วยเสียงและกิริยาเช่นกัน   แต่มันไม่ยอมเงียบง่ายๆ     เลยเงื้อมือทำท่าจะตีมัน    มันถึงยอมถอยร่นออกไปตั้งหลักในที่ไกลๆ   จากนั้น จึงพาโบเดินเข้าสวนร้างพร้อมสายจูง   ปิงปองทำท่าจะพุ่งเข้ามา   โบรับรู้สัญญานการโจมตี   ก็ตั้งท่าจะสู้เหมือนกัน     ก็ต้องรีบปรามปิงปองให้หยุดชะงัก   แล้วหันเหความสนใจโบไปที่อื่น    ให้โบเดินเล่นในสวนร้างสักพักโดยปิงปองไม่กล้าเข้าใกล้   ดีใจที่คุมสถานการณ์อยู่โดยไม่เกิดเรื่องร้ายแรง

พรุ่งนี้  จะลองปล่อยให้ปิงปองกับโบทำความคุ้นเคยในการอยู่ร่วมกันนอกบ้าน(ในสวนร้าง)โดยไม่มีสายจูง    ส่วนด็อตคอมคงต้องขังแยกไว้ในบ้านก่อน   เพื่อไม่ให้มันไปวุ่นวายกับการทดสอบ   ถ้าผ่านจุดนี้ได้  คิดว่า  การจูงปิงปองกับโบไปเที่ยวพร้อมกัน  คงไม่ยากนัก  ช่างคิด

(ภาพเดิมจากกระทู้  อัพเดท สมาชิกบ้านรักษ์บางแก้ว ตอนนี้ หญ้าแห้งและเตียนหมดแล้ว)

หลังจากที่พาโบกับปิงปองกับเข้าบ้านทีละตัว   ปิงปองวิ่งไล่โบเข้ากรงตามความเคยชิน   เลยรีบไปขวางมันไว้ห้ามไม่ให้ปิงปองไปขู่โบที่หน้ากรง    ส่วนโบเห็นเจ้านายช่วยห้าม  ก็เลยออกจากกรงมาเห่าท้าทายปิงปอง  ตอนนั้น คิดว่าถ้าคุมสถานการณ์ไม่อยู่  มันคงได้กัดกันแน่   เพราะไม่มีรั้วหรือประตูหรือสายจูงมาขวางกั้น   แต่โชคดีที่ทั้ง 2 ยังเกรงกลัวเจ้านายอยู่บ้าง    หลังจากที่เจ้านายทำหน้าขึงขัง ส่งสัญญานมือและเสียง  พวกมันก็ยอมถอยห่างออกจากกันโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ก็หวังว่า  พรุ่งนี้ ตอนปล่อยให้ปิงปองกับโบทำความคุ้นเคยในการอยู่ร่วมกันนอกบ้าน(ในสวนร้าง)โดยไม่มีสายจูง      คงใช้วิธีเดียวกัน   แยกพวกมันให้ถอยห่างออกจากกันโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น มารร้าย


โดย Pingpong \(-_-)/ - Thursday, 22 February 2007, 02:49PM
 

เลยสรุปว่า  ปัญหาอยู่ที่ปิงปองมากกว่าโบ     แต่โบก็ขี้อิจฉาไม่แพ้บางแก้ว

ปฏิบัติการเบื้องต้นก่อนที่จะพาทั้ง 2 ตัวไปเที่ยวพร้อมกัน ก็คือการช่วงชิงสิทธิความเป็นจ่าฝูงคืนจากทั้งโบและปิงปอง(หลังจากที่ทำสำเร็จจากด็อตคอมแล้ว)    โดยทำให้มันรับรู้ว่าใครเป็นจ่าฝูงตั้งแต่ขั้นตอนการออกไปเที่ยวนอกบ้านตามที่คุณจรัญได้แนะนำไว้ข้างต้น

แล้วเมื่อคืนก็เอาเจ้าโบกับด็อตคอมไปปล่อยไว้ให้มันวิ่งเล่นกันเองในสวนร้างที่อยู่ตรงข้ามบ้าน(ซึ่งมีประตูรั้วแน่นหนา)

หลังจากนั้น  ก็นำสายจูงมาคล้องคอปิงปอง  เดินไปที่ประตูรั้ว    ยังไม่ทันจะออกจากบ้านได้เห็นหน้ากัน    สนามพลังอะไรบางอย่างไปทริกเกอร์ให้โบมาเห่าโวยวายอยูริมรั้วฝั่งตรงข้าม    ปิงปองก็ออกอาการจะเข้าไปฉะ    ก็เลยต้องปรามปิงปองตั้งแต่อยู่ในบ้าน

พอจูงออกมานอกบ้าน    ทั้งคู่ก็ทำสงครามกันโดยมีรั้วกั้น   ปิงปองดิ้นไปมา จะกัดสายจูงให้ขาด    เลยปล่อยให้มันปลดปล่อยพลังงานอยู่พักใหญ่   หลังจากมันรู้ว่า  ไม่อาจหลุดจากสายจูงแล้ว  แต่มันก็ยังไม่ยอมเชื่อฟัง  ขู่คำรามอย่างดุร้าย   ก็จัดการฉกกัดมันด้วยมือแบบไม่ปล่อย  ล้มลงนอนหงาย   กดทับไว้ให้มันนิ่งและสงบ  ตอนนั้นโบก็เริ่มสงบลงด้วย

เมื่อเห็นว่า  มันสงบดีแล้ว  ก็จูงมันเดินผ่านไปได้ด้วยดี

จบปฏิบัติการขั้นที่ 1   


โดย Pingpong \(-_-)/ - Wednesday, 14 February 2007, 04:39AM
 

เคยเสนอไปอยู่เหมือนกัน ว่า สมาคมและชมรมฯต่างๆน่าจะระดมทุนเพื่อทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก  แม้แต่ชมรมคนรักบางแก้วเองก็เคยเสนอว่า ควรมีรองประธานฝ่ายหาทุน  เพื่อนำมาสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ    แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก   เพราะต้องใช้บารมีกันพอสมควร   ซึ่งยังไม่มีใครพร้อมจะอาสา   คงต้องรอไปก่อน

ขอบคุณที่รวบรวมข้อมูลโรคหัดและลำไส้อักเสบมาให้  ขอแปะไว้ข้างล่างเพื่อให้ค้นเจอ


โรคและวิธีรักษาเบื้องต้นในสุนัข

 

ไข้หัดสุนัข (Canine Distemper)

สาเหตุ  เชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV   RNA Virus Paramyxovirus

การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้า

ไปหรือ หรือจากการสัมผัส

                อาการของโรค

แบบเฉียบพลัน 

Aหลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมาโดยสุนัขจะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง  ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน  ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด

แบบเรื้อรัง

Aฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ในสุนัขบางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน

ป้องกัน (Prophylaxis)

Aใช้สารช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้สุนัขได้ทันที เช่น แอนติซีรัม หรือแอนติซีรัมเข้มข้น

Aใช้สารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคหลังได้รับสารเช่น วัคซีนรวมที่มี 3 ชนิดขึ้นไป ปัจจุบันใช้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดรวมกับโรคอื่น ทำให้สะดวกขึ้น

Aหากในสุนัขที่ไม่ทราบประวัติหรืออายุเกิน 3 เดือนแล้ว  ควรทำวัคซีนหนึ่งครั้งในช่วงระยะปีแรก ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากแม่ที่ไม่ทราบโปรแกรมและยังอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรให้วัคซีน อย่างน้อย 2 ครั้งหลังหย่านม 1 ครั้ง  และเมื่อลูกสุนัขอายุ 12-16 สัปดาห์อีกครั้งหนึ่ง

การรักษา              

Aให้ยาป้องกันการแทรกซ้อนของโรคอื่น เช่น ปอดบวม โดยใช้ยา Antibiotic + Sulfaonamidus

Aการชักแก้ไขโดยกินยาฟีโนบาบิตอล ในขนาด 3 mg/kg ทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันไม่เกิน 4 ครั้ง แล้วควบคุมอาการชักด้วยยา พริมิโนหรือมัยโซลิน 50 mg/kg ต่อวัน โดยให้กินทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจนหาย

Aให้ Vitamin  ชนิดละลายน้ำและให้อาหารที่มีโปรตีนสูง หากสัตว์กินไม่ได้ สามารถฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้

หมายเหตุ  โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว

 

ที่มา :  จาก internet  แต่จำ web site  ไม่ได้

 

โรคสุนัขที่พบบ่อย

 

โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์

 

เป็นโรคฮิตติดอันดับ สำหรับสุนัขโรคหนึ่ง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือนเป็นต้นไป บางครั้งก็พบว่าเกิดในสุนัขอาวุโสได้เช่นกัน เป็นแล้วโอกาสหาย สำหรับสุนัขที่ติดเชื้อชนิดนี้ค่อนข้างต่ำ น้อยตัวนักที่จะหาย ถึงหายแต่ก็ไม่ปกติ มักแสดงอาการทางประสาท คือ กระตุกหรือชักตลอดชีวิต ส่วนใหญ่แล้วตายอย่างค่อนข้างทรมาน อาการของโรคนี้มักแสดงออกทางระบบทางหายใจก่อน คือมีขี้มูกสีเขียว ไหลย้อย ดูเหมือนปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึม มีตุ่มหนองขึ้นใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียว ๆ เกรอะกรังตลอดเวลา เมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้น จะพบว่ามีอาการทางประสาท คือริมฝีปากสั่น กระตุก และจะลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจพบว่าบริเวณฝ่าเท้ากระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วมด้วย สุดท้ายของโรคมักตาย นับเป็นภัยใหญ่หลวงชนิดหนึ่งของลูกสุนัข แต่สามารถป้องกันได้โดยการ พาสุนัขไปรับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็มแรก หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง

 

ที่มา : http://www.dollydoghouse.com/index.php?tpid=0032 วันที่ 22/1/2550 หน้า  6-7

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blackshadow$group=2 วันที่ 22/1/2550 หน้า 25-26

 

โรคไข้หัดสุนัขคืออะไร

 

โรคไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper เป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ตระกูลสุนัข ไข้หัดเป็นโรคชนิดที่มีผลต่อประชากรสุนัขในโลกมากที่สุดโรคหนึ่ง

สุนัขที่โตเต็มที่ ที่ติดเชื้อนี้มากว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะตาย ส่วนในลูกสุนัขอัตราการป่วยตายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์

ในสุนัขบางตัวที่ป่วยและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ สุนัขอาจะไม่ตายจากการติดเชื้อ แต่มักจะมีความผิดปกติ (ตลอดไป) เช่น เกี่ยวกับระบบประสาท เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท รวมทั้งประสาทรับกลิ่น การฟัง หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับการมองเห็น ส่วนอาการที่ทำให้เกิดอัมพาตบางส่วน หรือทั้งตัวพบได้น้อย ส่วนโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะปอดชื้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก มักเกิดแทรกซ้อนขึ้นเมื่อสุนัขมีความอ่อนแอจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัด

ลูกสุนัข หรือสุนัขที่มีอายุน้อยมักจะไวต่อการติดเชื้อ แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุมากได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า นั่นหมายความว่า โรคไข้หัดสุนัขพบได้ในสุนัขทุกอายุ

แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อไข้หัดสุนัข ส่วนโรค “ไข้หัดแมว หรือ feline Distemper “ เป็นโรคที่แตกต่างไปจากโรคไข้หัดสุนัข เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน โรคตับอักเสบชนิดติดต่อเป็นโรคอีกโรคหนึ่งที่พบในสุนัขและโรคตับอักเสบติดต่อในสุนัขไม่ติดคน

 

ไข้หัดมีผลต่อสุนัขอย่างไร

โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงสำหรับสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสขนาดเล็ก เ

เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข ติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากตาและจมูกของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ แต่การสัมผัสกับน้ำปัสสาวะและอุจาระของสุนัขที่ป่วยสามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน สุนัขปกติสามารถติดเชื้อได้โดยที่ไม่ได้สัมผัสกับสุนัขที่เป็นไข้หัดสุนัขก็ได้ คอกสุนัข หรือบริเวณที่สุนัขเล่น หรืออยู่ของสุนัขป่วย อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปยังสุนัขปกติได้ การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขสามารถแพร่ได้ทางอากาศและวัตถุสิ่งของต่างๆ

อาการป่วย  ของสุนัขที่ป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัขมักไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งทำให้วินิจฉัยได้ช้า ทำให้การรักษาทำได้ช้ากว่าปกติ หรือละเลยโรคนี้ไป เนื่องจากในบางครั้งสุนัขอาการเหมือนกับเป็นหวัดอย่างรุนแรง สุนัขส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักมีไข้สูงและสุนัขบางตัวอาจจะพบอาการของหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบและมีอาการกระเพาะอักเสบและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงได้

อาการที่พบในระยะแรก ๆ  ของการติดเชื้อไข้หัดสุนัขคือ เจ้าของอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการตาอักเสบ ไม่สู้แสง มีขี้ตามาก สุนัขมีน้ำหนักตัวลด ไอ อาเจียน และมีน้ำมูก บางครั้งอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการท้องเสียร่วมด้วย การติดเชื้อในระยะท้าย ๆมักจะพบว่าเชื้อไวรัสมีการเข้าไปอยู่ในระบบประสาท ทำให้ลูกสุนัขมีอาการอัมพฤก หรือมีการชักกระตุก เกร็งได้ สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งการกินอาหารด้วย

                ในบางครั้ง หรือในสุนัขบางตัว สุนัขป่วยอาจจะแสดงอาการไม่มาก หรือไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่น สุนัขอาจะมีไข้เพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือถ้ามีภาวะปอดชื้น หรือมีการอักเสบของลำไส้ หรืออาการอื่น ๆ เกิดขึ้น มีผลทำให้การฟื้นตัวของสุนัขในกลุ่มนี้ยาวนานออกไป (สุนัขกลุ่มนี้มักไม่ตาย) ปัญหาทางระบบประสาทมักจะพบได้ภายหลังจากที่สุนัขฟื้นตัวจากการป่วย (หลายสัปดาห์) ในสุนัขบางรายเชื้อไวรัสจะทำให้มีการเจริญของ tough keratin cells ของฝ่าเท้า ทำให้ฝ่าเท้าหนาและแข็ง

                โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้อย่างแพร่หลาย และอาการป่วยจากการติดเชื้อค่อนข้างผันแปร มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรนำสุนัขที่สงสัยว่าป่วยไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเป็นการดีที่สุด

 

                การป้องกัน

                สุนัขที่รอดชีวิตจาการติเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมักจะมีภูมิต้านทานที่เพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสสุนัขจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสุนัขมักจะตายจากการติดเชื้อไวรัสนี้ การป้องกันโรคดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดเลยที่สามารถจะให้ภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิตของสุนัข ดังนั้นสุนัขจึงต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นประจำทุกปี ลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ในระดับหนึ่ง ภูมิคุ้มกันนี้เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่สุนัขหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว ผ่านทางนมน้ำเหลือง (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด) ดังนั้นระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขจึงขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแม่สุนัข โดยทั่วไปมักมีระดับไม่สูงมากนัก ภูมิคุ้มกันที่รับจากแม่สุนัขผ่านทางน้ำนมเหลืองนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 วัน ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง และลดลงประมาณ 3 ใน 4 หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์

                ดังนั้น การฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัขจึงมักกระทำเมื่อระดับภูมิคุ้มกันจากแม่หมดไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด แต่โดยทั่วไปมักจะทำการฉีดวัคซีนเข็มแรก เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์

 

                การมีสุขภาพดีของสุนัข

                สัตว์เลี้ยงที่มี่สุขภาพดีจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี เจ้าของจะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำเป็นประจำเพื่อลดโอกาสป่วยของสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่าสุนัขมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

                พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่น ๆ ของร่างกาย

สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร  มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ

ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกะทันหัน หรืออ่อนเพลีย

พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก

มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ

มีรังแค ขนร่วง มีแผลกดทับ หรือมีขนหยิกหยอง หยาบไม่มันวาว

ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือพบมีหินปูนเกาะที่ฟันมาก

 

ที่มา : http://www.dollydoghouse.com/index.php?tpid=0032 วันที่ 22/1/2550 หน้า 13-14

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blackshadow$group=2 วันที่ 22/1/2550 หน้า 13-16

 

ลักษณะของBreeder และการดูแลโรคที่เกิดกับสุนัข

 

โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์ (Canine Distemper)

พบมากในสุนัขแรกเกิดถึงอายุ 2-3 เดือน

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส  Paramyxoviriae

อาการ  หายใจลำบาก และมีอาการปอดบวม เบื่ออาหาร ซึม มีไข้ มีน้ำมูกสีเขียว มีขี้ตาสีเขียว มีตุ่มเกิดขึ้นใต้ท้องถ้าสุนัขทนอยู่ได้นาน จะแสดงอาการฝ่าเท้าแข็งและมีอาการทางระบบประสาท ริมฝีปากสั่น ชักกระตุก เป็นอัมพาต อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย และตายในที่สุด ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนเริ่มแสดงอาการไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัขแต่ละตัว

การติดต่อ ทางระบบการหายใจ และการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย เช่น อาหารที่ติดเชื้อ น้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ

การรักษาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ การทำวัคซีนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การป้องกัน  ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากเข็มแรก 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี ๆ ปีละครั้ง

 

ที่มา : http://www.mlovegolden.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents$id=73985$Nty... วันที่ 22/1/2550 หน้า 1

 

 

โรคไข้หัดสุนัข

อ.สพ.ญ.นงเยาว์   สุวรรณธาดา

ไข้หัดสุนัข ชื่อภาษาอังกฤษคือ  Canine Distemper เราคงคุ้นหูกันดี โรคนี้เป็นแล้วตายจริงหรือ เรามาหาคำตอบกันดีกว่า

โรคไข้หัดสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไข้หัดในเด็กหรือหัดเยอรมันในคน และไม่ติดตนสบายใจได้ กล่าวกันว่าโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้สุนัขมีอัตราตายสูง ฟังดูหน้าตกใจ  ที่จริงแล้วสุนัขมีอัตราติดเชื้อสูง แต่ไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส  และสุนัขบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้สูง โรคนี้พบมากในลูกสุนัขช่วงอายุระหว่าง 3-6 เดือน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ลดลง

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลันมีโอกาสเกิดสมองอักเสบได้ ทำให้สัตว์ตายสูง บางสายพันธุ์ทำให้สุนัขผอมแห้ง ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ และมีอัตราตายสูง แต่ไม่พบอาการทางประสาท อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์มีผลกดภูมิคุ้มกันของสุนัข

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขไม่ทนต่อความร้อน อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ ความแห้ง ผงซักฟอก น้ำยาที่ละลายไขมันต่าง ๆ ตลอดจนน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปที่ใช้ทำความสะอาดพื้นคอก กรง ชามอาหาร สามารถทำลายเชื้อได้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส  ไวรัสจะอยู่ได้ 1 ชั่วโมง

 

                การติดต่อและผลที่เกิดกับร่างกาย

                สุนัขป่วยติดโรคโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป อาจโดยจมูกต่อจมูกสัมผัสกัน หรือละอองไวรัสจากปากหรือจมูกสัตว์ป่วยเข้าไปทางจมูก ปากหรือเยื่อตา เชื้อเพิ่มจำนวนและผ่านหลอดน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ในวันที่ 2-4 หลังจากรับเชื้อ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองจะถูกทำลายพร้อมกับไวรัสเพิ่มจำนวน ในวันที่ 4-6 สัตว์จะมีไข้สูง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสู่เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่อสมองส่วนกลางในวันที่ 8-9 หลังจากรับเชื้อโดยการแพร่ไปทางกระแสเลือด ถ้าสัตว์ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง จะป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปในเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และยับยั้งการแพร่ของไวรัสและอาการป่วยจะหายไปในวันที่ 14 แต่ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอ ไวรัสจะกระจายเข้าสู่เซลล์บุต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตลอดจนผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นช้า และอาจทำให้สัตว์หายป่วยได้ ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่สัตว์ได้รับไม่รุนแรงมากหรือไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่ไวรัสจะยังคงอยู่ในเนื้อเยื่อที่สำคัญบางส่วนเช่น ในม่านตา ในเซลล์ประสาท และฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุของอาการทางประสาทในระยะต่อมา

 

อาการของสุนัขที่เป็นโรค

อาการของโรคไขหัดสุนัขมีหลากหลาย สุนัขที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการให้เห็น หรือแสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงประเภทรุนแรง และตามด้วยอาการทางประสาทไปจนถึงสุนัขตาย

อาการที่พบ เช่น ไข้สูง และลดลงมาเป็นปกติในวันที่ 7-14 ระยะต่อมามีน้ำตาใส ๆ และกลายเป็นหนองข้น

ไม่กินอาหาร บางครั้งอาเจียนเนื่องจากทอนซิลอักเสบ

มีน้ำมูกใสต่อมากลายเป็นมูกหนอง ระยะต่อมาจะไอและหายใจลำบาก

ท้องเสียเป็นมูก หรือปนเลือด และอาเจียน

ตุ่มหนองตามผิวหนัง ฝ่าเท้าแข็งมักพบในรายเรื้อรัง บางรายพบปลายจมูกแข็ง

ที่ตาพบ แผลหลุมลึกที่กระจกตา สัตว์ป่วยสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากประสาทตาอักเสบ

กล้ามเนื้อกกหูสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขากระตุก ขาหลังอ่อนแรง เดินโซเซ เดินวน เดินเอียง  ตากรอก ชักแบบเคี้ยวปาก

 

จะป้องกันและรักษาโรคนี้ได้อย่างไร

                ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การให้การรักษา เป็นการรักษาตามอาการและเพียงเพื่อบรรเทาอาการลง สัตว์ป่วยบางรายขณะตรวจยังไม่มีอาการทางประสาท แต่อาจมีอาการทางประสาทได้ในเวลาต่อมา

                สุนัขอายุน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลือง และสามารถคุ้มโรคได้จนอายุ 6-8 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และสัตวแพทย์จะกำหนดวันที่ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสุนัขของท่าน หลังจากนั้นสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำเป็นประจำทุกปี

แม้ไข้หัดสุนัขจะฟังดูน่ากลัว เพราะป่วยแล้วมีโอกาสตายสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่เรามีวิธีป้องกันโรคที่ได้ผล และผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านควรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในสุนัขเพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ดี และค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะประหยัดกว่าค่ารักษาอย่างมาก

 

ที่มา : http://vet.kku.ac.th/rabies/desease/distemper.htm วันที่ 22/1/2550 หน้า 1-2

 


โดย SANMAI NG - Wednesday, 14 February 2007, 03:08AM
 

เป็นไปได้ไหมครับ ที่โรคหัดกับลำใส้อักเสบจะเป็นในเวลาเดียวกัน

หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอีกอย่าแทรกซ้อน

เพราะผมสงสัยไปเองครับว่า บางทีลูกหมาเป็นสองโรคพร้อมกัน แต่การรักษาอาจจะทำการรักษาในอาการที่เห็นได้ชัดกับโรคแค่โรคเดียว ทำให้อีกโรคหนึ่งเพาะเชื้ออยู่ในร่างกายลูกหมาโดยไม่ได้รับยาต้านทาน ทำให้ลูกหมาที่ป่วยสองโรคแต่ได้รับการรักษาแค่โรคเดียว  ...เป็นไปได้ไหมครับ ?

ตอบคุณ วันทนีย์ ธารณ์ธนบูลย์

ตอนนี้ม่อนจังแข็งแรงดีครับ  เรื่องการรักษาโรคของม่อนจังนั้นเป็นไปตามที่แพทย์แนะนำครับ  มีการให้ยาวันละสามเวลา+น้ำเกลือ ระยะเวลารักษาก็สิบกว่าวัน ตลอดสิบกว่าวันนี้งดน้ำและอาหาร

*ผมไม่รู้นะครับ ม่อนจังตอนนั้นป่วยเป็นโรคลำใส้อักเสบชนิดไหน*

ขอบคุณพี่เพื่อนบางแก้วและคุณวันทนีย์มากครับสำหรับความรู้


โดย เพื่อน . - Tuesday, 13 February 2007, 10:25AM
 

ถึง คุณพ่อ ซันไม มือเลี้ยงเก่าของบางแก้ว ต้องขออภัยที่ต้องก็อป ข้อมูลของเพื่อนๆในเวปมาลงครับ เป็นของคุณ วัณทนีย์

โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อไวรัส (Canine viral Enteritis)

พบมากในสุนัขอายุ 2 - 6 เดือน

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus , Coronavirus

อาการ หลังจากรับเชื้อเข้าไป 7 - 10 วัน สุนัขจะเริ่มอาเจียนบ่อย มีไข้สูงต่ำสลับกัน เบื่ออาหาร ซึม อุจจาระเหลว ท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ สีน้ำตาล หรือปนแดง กลิ่นเหม็นมาก ช็อคจากการสูญเสียน้ำ เลือด และ พลังงาน ลูกสุนัขจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องมาจาก เชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

การติดต่อ ทางการสัมผัส หรือติดเชื้อจากอุจจาระของสุนัขที่ป่วย

การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องให้ยาช่วยตามอาการ แก้ไขภาวะขาดน้ำ ลดอาการแทรกซ้อน

การป้องกัน ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำหลังจากครั้งแรก 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุกๆปี ปีละครั้ง

ไข้หัดสุนัข ชื่อภาษาอังกฤษคือ  Canine Distemper

โรคไข้หัดสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไข้หัดในเด็กหรือหัดเยอรมันในคน และไม่ติดตนสบายใจได้ กล่าวกันว่าโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้สุนัขมีอัตราตายสูง ฟังดูหน้าตกใจ  ที่จริงแล้วสุนัขมีอัตราติดเชื้อสูง แต่ไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส  และสุนัขบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้สูง โรคนี้พบมากในลูกสุนัขช่วงอายุระหว่าง 3-6 เดือน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ลดลง

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลันมีโอกาสเกิดสมองอักเสบได้ ทำให้สัตว์ตายสูง บางสายพันธุ์ทำให้สุนัขผอมแห้ง ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ และมีอัตราตายสูง แต่ไม่พบอาการทางประสาท อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์มีผลกดภูมิคุ้มกันของสุนัข

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขไม่ทนต่อความร้อน อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ ความแห้ง ผงซักฟอก น้ำยาที่ละลายไขมันต่าง ๆ ตลอดจนน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปที่ใช้ทำความสะอาดพื้นคอก กรง ชามอาหาร สามารถทำลายเชื้อได้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส  ไวรัสจะอยู่ได้ 1 ชั่วโมง

                การติดต่อและผลที่เกิดกับร่างกาย

                สุนัขป่วยติดโรคโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป อาจโดยจมูกต่อจมูกสัมผัสกัน หรือละอองไวรัสจากปากหรือจมูกสัตว์ป่วยเข้าไปทางจมูก ปากหรือเยื่อตา เชื้อเพิ่มจำนวนและผ่านหลอดน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ในวันที่ 2-4 หลังจากรับเชื้อ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองจะถูกทำลายพร้อมกับไวรัสเพิ่มจำนวน ในวันที่ 4-6 สัตว์จะมีไข้สูง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสู่เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่อสมองส่วนกลางในวันที่ 8-9 หลังจากรับเชื้อโดยการแพร่ไปทางกระแสเลือด ถ้าสัตว์ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง จะป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปในเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และยับยั้งการแพร่ของไวรัสและอาการป่วยจะหายไปในวันที่ 14 แต่ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอ ไวรัสจะกระจายเข้าสู่เซลล์บุต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตลอดจนผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นช้า และอาจทำให้สัตว์หายป่วยได้ ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่สัตว์ได้รับไม่รุนแรงมากหรือไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่ไวรัสจะยังคงอยู่ในเนื้อเยื่อที่สำคัญบางส่วนเช่น ในม่านตา ในเซลล์ประสาท และฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุของอาการทางประสาทในระยะต่อมา

อาการของสุนัขที่เป็นโรค

อาการของโรคไขหัดสุนัขมีหลากหลาย สุนัขที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการให้เห็น หรือแสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงประเภทรุนแรง และตามด้วยอาการทางประสาทไปจนถึงสุนัขตาย

อาการที่พบ เช่น ไข้สูง และลดลงมาเป็นปกติในวันที่ 7-14 ระยะต่อมามีน้ำตาใส ๆ และกลายเป็นหนองข้น

ไม่กินอาหาร บางครั้งอาเจียนเนื่องจากทอนซิลอักเสบ

มีน้ำมูกใสต่อมากลายเป็นมูกหนอง ระยะต่อมาจะไอและหายใจลำบาก

ท้องเสียเป็นมูก หรือปนเลือด และอาเจียน

ตุ่มหนองตามผิวหนัง ฝ่าเท้าแข็งมักพบในรายเรื้อรัง บางรายพบปลายจมูกแข็ง

ที่ตาพบ แผลหลุมลึกที่กระจกตา สัตว์ป่วยสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากประสาทตาอักเสบ

กล้ามเนื้อกกหูสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขากระตุก ขาหลังอ่อนแรง เดินโซเซ เดินวน เดินเอียง  ตากรอก ชักแบบเคี้ยวปาก

จะป้องกันและรักษาโรคนี้ได้อย่างไร

                ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การให้การรักษา เป็นการรักษาตามอาการและเพียงเพื่อบรรเทาอาการลง สัตว์ป่วยบางรายขณะตรวจยังไม่มีอาการทางประสาท แต่อาจมีอาการทางประสาทได้ในเวลาต่อมา

                สุนัขอายุน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลือง และสามารถคุ้มโรคได้จนอายุ 6-8 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และสัตวแพทย์จะกำหนดวันที่ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสุนัขของท่าน หลังจากนั้นสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำเป็นประจำทุกปี

แม้ไข้หัดสุนัขจะฟังดูน่ากลัว เพราะป่วยแล้วมีโอกาสตายสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่เรามีวิธีป้องกันโรคที่ได้ผล และผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านควรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในสุนัขเพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ดี และค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะประหยัดกว่าค่ารักษาอย่างมาก

 

 

 


โดย Pingpong \(-_-)/ - Thursday, 25 January 2007, 01:20PM
 

มีลูกอ่อนเครียด "เจ๊กิม" เศรษฐินี ด่าเลยชะตาขาด ชูเลี้ยงพันธุ์ไทย
ร็อตไวเลอร์เครียด รุมขย้ำ “เจ๊กิม” เศรษฐีนีนักธุรกิจค้าส่งกระเทียม เจ้าของดับสยองคาบ้าน ตอนแรกตำรวจนึกว่าถูกลูกจ้างชาวพม่ากับพวกรุมฆ่าแล้วหลบหนี แต่ตามจับกุมได้ เค้นสอบปฏิเสธ อ้างหนีเพราะนึกว่าตำรวจแห่มาจับที่สวมบัตรประชาชนปลอมมาทำงาน สุดท้ายความจริงกระจ่าง หลังแพทย์นิติเวชลงความเห็นถูกสุนัขรุมกัดจนตาย ตร.สงสัยดุด่าลูกสนัขจนแม่โกรธเครียดเลยกัดจนเลือดไหลก่อนตัวพ่อช่วยรุมกัดจนตาย “หมออลงกรณ์” เผยหาก “ร็อตไวเลอร์” เครียด ทั้งถูกดุด่า ตวาด หรือหวงลูก อาจคลุ้มคลั่งกัดเจ้าของจนตายได้ ฝากเตือนเลี้ยงหมาไทยจรจัดดีกว่า ซื่อสัตย์ไม่ทำร้ายเจ้าของ

เหตุสุนัขโหดรุมกัดเศรษฐินีเจ้าของดับสยองครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 ม.ค. พ.ต.ท.กานต์ ดีมงคล สวส.สภ.อ.ป่าซาง จ.ลำพูน รับแจ้งพบศพบริเวณบ้านเลขที่ 249 หมู่ 1 ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จึงรุดไปตรวจสอบพร้อม พ.ต.อ.ชูศักดิ์ เตชะรักษ์พงษ์ ผกก. แพทย์รพ.ป่าซาง และฝ่ายสืบสวน ที่เกิดเหตุเป็นบ้าน 2 ชั้นหลังใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ในเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ด้านหลังเป็นโกดังเก็บพืชผลทางการเกษตร ประตูรั้วหน้าบ้านถูกปิดล็อกเรียบร้อย เจ้าหน้าที่มองผ่านรั้วเข้าไป พบสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ผัวเมียตัวใหญ่ 2 ตัว เดินวนเวียนท่าทางเกรี้ยวกราดอยู่ภายในบ้านส่งเสียงเห่าตลอดเวลา โดยมีลูก ๆ ของมันอีก 3 ตัว เดินอยู่ใกล้ ๆ เจ้าหน้าที่ไม่กล้าผลีผลามเข้าไปเพราะกลัวถูกกัด

สอบสวน น.ส.อรุณี สุรินทะสมบัติ อายุ 56 ปี ซึ่งโทรศัพท์ไปแจ้งตำรวจ ให้การว่า บ้านเกิดเหตุเป็นของ น.ส.นันท์นภัส สุรินทะสมบัติ หรือ “เจ๊กิม” อายุ 53 ปี น้องสาว ซึ่งทำธุรกิจค้าส่งกระเทียมและหัวหอม และรับฝากลำไยอบแห้งของรัฐบาลไว้ในโกดังหลังบ้าน ฐานะ ร่ำรวยจัดอยู่ในขั้นเศรษฐินี ปกติจะพักอยู่กับ    น.ส.บวรรัตน์ สุรินทะสมบัติ อายุ 50 ปี น้องสาวอีกคน และนายวีน ระพีเลิศสวัสดิ์ อายุ 27 ปี คนงานกับภรรยาและน้องเมียของนายวีน แต่ขณะเกิดเหตุ น.ส.บวรรัตน์ เดินทางไปต่างประเทศ ไม่อยู่บ้าน ก่อนเกิดเหตุนัดกับ น.ส. นันท์นภัส แต่โทรศัพท์มาหาที่บ้านกี่ครั้งก็ไม่รับสาย เลยมาหาที่บ้าน และพบ น.ส.นันท์นภัส นอนเสียชีวิตจมกองเลือดอยู่หลังบ้าน ไม่กล้าเข้าไปตรวจสอบในบ้าน เพราะกลัวว่าน้องถูกคนร้ายฆ่าตาย และคนร้ายยังอยู่ในบ้าน จึงแจ้งตำรวจ

ต่อมาเจ้าหน้าที่ให้ น.ส.อรุณี ซึ่งคุ้นเคยกับสุนัขเข้าไปต้อนสุนัขทั้งหมดเข้ากรงขังไว้ โดยรอให้พวกมันอารมณ์สงบลงก่อน ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงจึงสำเร็จ จากนั้นเข้าไปตรวจสอบบริเวณหลังบ้าน พบภาพสยดสยองเป็นร่างไร้วิญญาณของ   น.ส.นันท์นภัส นอนคว่ำหน้าจมกองเลือดที่แดงฉานอยู่บนพื้น สภาพศพคล้ายถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม มีบาดแผลคล้ายถูกกรีดเหวอะหวะไปทั้งตัว โดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะถูกถลกจนเปิดและแขนที่ถูกของมีคมจนเกือบขาด เสียชีวิตมาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้ตายสวมเพียงเสื้อยืดสีน้ำตาล และกางเกงในสีขาว ส่วนกางเกงขาสามส่วนกองอยู่ห่างจากศพเล็กน้อย ในที่เกิดเหตุมีไม้กั้นประตูรั้วตกอยู่ เบื้องต้นคาดว่าอาจเป็น 1 ในอาวุธสังหารผู้ตาย จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน

จากการตรวจสอบพบคนงานทั้งหมดหายตัวไป จึงสงสัยว่าอาจร่วมกันลงมือสังหารนายจ้างและหลบหนี เลยกระจายกำลังกันออกตามล่าตัว และสามารถจับกุมตัวนายวีนได้ ขณะหลบซ่อนตัวอยู่สวนลำไย ห่างจากบ้านเกิดเหตุประมาณ 500 เมตร ส่วนภรรยาและน้องเมียของนายวีนยังตามจับกุมไม่ได้ สอบสวนนายวีนให้การปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ได้ร่วมมือกับภรรยาและน้องเมียสังหารโหดนายจ้าง แต่ที่ต้องหลบหนี เพราะทั้งหมดเป็นชาวพม่า แต่แอบสวมบัตรประจำตัวประชาชนปลอมเป็นคนไทยมาทำงาน ก่อนเกิดเหตุออกมาทำธุระนอกบ้านกันหมด และเห็นตำรวจแห่กันมาที่บ้านนึกว่าจะมาจับกุมเรื่องปลอมบัตรประชาชนหนีมาทำงาน เลยพากันหลบหนี และไม่รู้เรื่องการตายของนายจ้าง

ต่อมาตำรวจส่งศพผู้ตาย ไปให้แพทย์ด้านนิติเวชที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ชันสูตร โดยแพทย์ระบุว่า บาดแผลทั้งหมดเกิดจากถูก สุนัขรุมกัดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่ศีรษะถูกกัดจนหนังศีรษะเปิด ไม่ใช่ถูกฆาตกรรมจากน้ำมือมนุษย์ ตำรวจจึงสันนิษฐานว่าผู้ตายน่าจะถูกสุนัขของตัวเอง ที่เกิดคลุ้มคลั่งรุมกัดจนเสียชีวิต เนื่องจากสุนัขเพศเมียเพิ่งตกลูกออกมา 3 ตัวได้ไม่นานมากนัก ก่อนเกิดเหตุผู้ตายอาจไปทำให้สุนัขตัวแม่เกิดความเครียด หรือไปเล่นกับลูกสุนัขจนแม่มันเกิดหวงลูก เลยกัดผู้ตายจนเลือด   ไหล ก่อนสุนัขตัวพ่อจะช่วยกันรุมกัดจนเสียชีวิตในที่สุด หรือผู้ตายอาจไปดุด่าตวาดลูกสุนัขที่เที่ยว กัดข้าวของบริเวณบ้านเสียหาย จนแม่มันเกิดเครียดกัดทำร้ายเอา โดยขณะเกิดเหตุคนงานทั้งหมดออกไปนอกบ้านเลยไม่รู้เรื่อง 

ด้าน นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ นายสัตวแพทย์ ช่วยราชการสำนักพระราชวัง เปิดเผยว่า สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ถ้าอยู่ในภาวะเครียด หรือทำให้มันเกิดภาวะเครียด ไม่ว่าจะเป็นการถูกดุด่า ตวาด ตี ถูกให้อดอาหาร ติดสัตว์ หรือมีลูกอ่อน มันก็สามารถกัดเจ้าของได้ โดยเฉพาะหากได้กลิ่นเลือด หรือลิ้นได้สัมผัสรสเค็มของเลือด ก็จะยิ่งบ้าเลือดหรือคลุ้มคลั่ง เนื่องจากสุนัขพวกนี้สายพันธุ์เดิมเป็นสุนัขสำหรับต่อสู้ เฝ้ายาม และล่าสัตว์ เป็นสายเลือดทางยุโรป มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ถ้ามันกัดเหยื่อ หรือเจ้าของจนล้ม มันจะรู้ทันทีว่าเอาชนะได้ ก็จะยิ่งกัดอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงอยากฝากถึงผู้เลี้ยงสุนัขว่า ควรหันมาเลี้ยงสุนัขจรจัด หรือสุนัขพันธุ์ทางของไทยดีกว่า เพราะมันรักเจ้าของ ซื่อสัตย์ ไม่เคยทำร้ายเจ้าของ แม้จะดุด่าเตะต่อยมันยังไง มิหนำซ้ำยังดูแลเลี้ยงง่าย แข็งแรง และมีความต้านทานโรคสูง แค่นำสุนัขจรจัดพวกนี้มาให้สัตวแพทย์รักษา สมัยนี้มียาดี ๆ รักษาไม่นานก็ขนฟูสวยงามหายจากโรค อย่าไปเลี้ยงเลยสุนัขพวกร็อตไวเลอร์ หรือพิตบูลเทอร์เรีย.

http://dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?newsid=115071&newsType=1&template=1


โดย Tripple_A ละโว้บางแก้ว - Thursday, 4 January 2007, 09:00AM
  ทำไมสุนัขจึงถ่ายเหลวบางตัวถ่ายไม่หยุดนอนหมดแรง และมักเกิดร่วมกับอาการอาเจียน โดยเฉพาะในลูกสุนัข ที่มักมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ความตาย ในเวลาอันรวดเร็วเป็นชั่วโมง หรือ 1-2 วัน แตกต่างจากในสุนัขโตอายุมากกว่า 1 ปี ที่มักพบอาการถ่ายเหลวจนเรื้อรัง คือ มีอาการถ่ายเหลวนานเกิน 7 วัน ทั้งๆ ที่สามารถกินอาหารได้ปกติ บางตัวกินอาหารเก่ง กินน้ำเก่ง แต่ร่างกายกลับดูผอมลง และมีน้ำหนักตัวลดลง อาการที่กล่าวมาข้างต้น ในสุนัขโตมันอันตราย แต่มักไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สุนัขจะมีอาการถ่ายเหลวไม่หยุด บางตัวมีเลือดปน ในช่วงนั้นจะเริ่มมีอันตรายมากขึ้น อาการท้องเสียที่พบในสุนัขโต มักพบเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้ โดยเฉพาะส่วนของลำไส้เล็ก เราเรียกกลุ่มอาการนี้ เป็นภาษาอังกฤษว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เกิดการอักเสบหนาตัวขึ้นของลำไส้ เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte , Plasma cell , Eosinophil มาสะสมเป็นจำนวนมากที่ลำไส้ ก่อนให้การรักษาสัตวแพทย์จะต้องมีการตรวจเลือด โดยเฉพาะการตรวจหาค่าโปรตีนในเลือด (Albumin , Globulin) ค่าซีรั่มในเลือด และการตรวจ Biopsy ของลำไส้ เพื่อใช้เป็นข้อสรุปว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มอาการนี้ก่อนให้ยา

สาเหตุของการท้องเสียที่พบโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจาก 2 แห่งคือ

1. จากทางเดินอาหารโดยตรง คือกระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
2. จากระบบอื่นในร่างกายที่ไม่ใช่ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคตับ โรคตับอ่อนอักเสบ โรค Hyperthyroid พบบ่อยในแมว,โรค hypoadenocorticsm


การแบ่งประเภทการเกิดท้องเสียตามอาการที่เกิดแบ่งได้ 2 แบบคือ
1. แบบเฉียบพลัน มีสาเหตุดังนี้
a. จากอาหารที่ให้กินมากเกินไป การเปลี่ยนอาหารทันที หรืออาหารให้กินไม่สะอาด บูดเน่า
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ ได้แก่พยาธิ์ใส้เดือน พยาธิ์ปากขอ
c. จากโปรโตซัว ได้แก่เชื้อ Gliardia Coccidia
d. จากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
e. จากการได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สารพิษตะกั่ว
2. แบบเรื้อรัง
a. จากอาหาร ได้แก่ การแพ้อาหารที่กิน การขาดแลคโตส
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ และโปรโตซัว
c. การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะการเกิด Bacteria overgrowth ในสฃลำไส้เล็ก (SIBO)
d. จากการสะสมของเซลเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil Plasma Cell Lymphocyte โดยเฉพาะที่ลไส้ใหญ่ส่วนโคลอน พบบ่อย
ในสุนัขพันธุ์บอกเซอร์ อัลเซเชียน เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็น IBD
e. การเกิดเนื้องอกที่ทางเดินอาหาร เช่น Diffuse Lymphosarcoma , Adenocarcinoma

กลุ่มอาการ IBD ดังกล่าวจะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีน ในทางเดินอาหาร ในปัจจุบันการรักษาแผนใหม่ ที่จะควบคุมอาการดังกล่าว นอกจากใช้ยาลดการัอักสเบจำพวกเสตียร์รอยด์ที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้น ไม่สามารถจะให้เป็นเวลานานๆ เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยา จึงมีการพิจารณาในเรื่องของอาหาร ที่ให้สัตว์กินในระยะยาวร่วมด้วย

อาหารที่จะต้องใช้ ควรให้อาหารที่มีการควบคุมชนิดของโปรตีน ที่ย่อยง่าย และมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นอยู่ในอาหารด้วย ลดปริมาณไขมันในอาหารท้องเสีย เพราะการที่ไขมันสูงทำให้การดูดซึมอาหาร ที่กินเข้าไปน้อยลงโดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาของตับอ่อนอักเสบ หรือการขาดเอ็นไซม์ของตับอ่อน ไม่ควรให้กินอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากร่างกายขาดเอ็นไซม์ที่จะย่อยไขมัน โดยทั่วไปจะเลือกเป็นอาหาร ที่ทำให้เกิดการแพ้น้อยที่สุดพบว่า Eukanuba Low-Residue เป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษา

นอกจากนี้อาจเกิดมาจากการอักเสบของถุงน้ำดีในร่างกายทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง ก่อนการพิจารณาเลือกชนิดของอาหารที่จะให้แก่สัตว์ที่มีอาการทอ้งเสีย ควรจะทราบก่อนว่าการท้องเสียนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร และโดยทั่วไปอาหารที่เหมาะสมควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นอาหารที่ย่อยง่าย
2. มาจากแหล่งอาหารโปรรตีนอย่างเดียวและมีคุณค่าทางโปรตีนแต่ไม่สูงเกินไป เช่น โปรตีนจากเนื้อแกะ กระต่าย ไก่ ปลา กวาง
3. มาจากแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตแหล่งเดียวปราศจาก Gluten ควรใช้แหล่งจากข้าว มันฝรั่ง มันสัมปะหลัง ข้าวโพด (บางตัวอาจแพ้ข้าโพด)
4. ปรับปริมาณของกรดไขมันในอาหาร (Omega3-Omega6 ratio 5:1-10:1)
5. มีปริมาณสายใยอาหารที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป (3-7 เปอร์เซนต์ของอาหารสายใยทั้งหมด)
6. มี fermentable fiber ที่พอดี
7. ลดปริมาณไขมัน



โดยร.ต.อ.สพ.ญ. อารยา ผลสุวรรณ์
ที่มา : วารสาร Eukanuba Privilege News Issue 3/2003

หน้า:  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  (ต่อไป)